กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1675
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สู่การรับรองมาตรฐานของเกษตรกรในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of Hom-mali organic rice production to the standard certification by the farmers in Mueang Buri Rum District, Buri Ram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรดา แป้นนางรอง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวหอมมะลิ--การผลิต
ข้าวหอมมะลิ--มาตรฐานการผลิต--ไทย--บุรีรัมย์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ (2) สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับมาตฐานการรับรองข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของเกษตรกร (4) สภาพและความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของเกษตรกร และ (5)ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ไปสู่การรับรองมาตรฐานอินทรีย์ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์มีอายุเฉลี่ย 59.94 ปี จบประถมศึกษา ประสบการณ์ในผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 2.52 ปี พื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เฉลี่ย 7.47 ไร่ รายได้จากการขายข้าวอินทรีย์ เฉลี่ย 31,554.63บาท/ปี รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 59,856.35บาท/ปี ส่วนเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์มีอายุเฉลี่ย 54.42 ปี จบประถมศึกษา ประสบการณ์ในผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 4.72 ปี พื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 11.59 ไร่ รายได้จากการขายข้าวอินทรีย์ 59,944.38บาท/ปี และรายได้ภาคการเกษตร 66,860.94 บาท/ปี (2) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีการผลิตข้าวตามหลักการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับมากที่สุด (3) เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการรับรองข้าวหอมมะลิอินทรีย์อยู่ในระดับมาก ส่วนเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์ทั้งหมดมีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มได้รับการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ไปสู่การรับรองมาตรฐาน ด้านวิธีการ เนื้อหาการส่งเสริม และการสนับสนุนที่แตกต่างกัน โดยเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการการผลิตข้าวอินทรีย์ไปสู่การรับรองมาตรฐานของเกษตรกรทั้ง 2 มีความต้องการอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะด้านการสนับสนุนในเรื่องการตลาด (5) เกษตรกรที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์มีปัญหาในระดับมากในประเด็นปริมาณผลผลิตในการทานาอินทรีย์ลดลงและราคาข้าวอินทรีย์ยังไม่จูงใจพอเนื่องจากราคาขายต่า ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการบูรณาการรูปแบบการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพและรัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมเรื่องการตลาดข้าวอินทรีย์อย่างจริงจังและมีการกาหนดราคาและสถานที่รับซื้อข้าวอินทรีย์ให้กับเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1675
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159249.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons