Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1676
Title: | การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครพนม มุกดาหาร และสกลนคร |
Other Titles: | Utilization of information technology in agricultural extension of agricultural extensionist in Nakhon Phanom, Mukdahan and sakon Nakhon Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา ภวพร สุขเกษม, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย--นครพนม เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย--มุกดาหาร เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย--สกลนคร |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทางสังคมและเศรษฐกิจของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและประโยชน์ของข้อมูลจากระบบของกรมส่งเสริมการเกษตร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผลการวิจัยพบว่า 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 58.38 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40.23 ปี ร้อยละ 77.30 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 38.92 เป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เงินเดือนเฉลี่ย 18,406.25 บาท ประสบการณ์ใช้คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 9.78 ปี 2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรด้านแหล่งความรู้ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 63.03 ใช้แหล่งความรู้จากหน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านความรู้ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก ด้านความสามารถ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง 3) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 52.84 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร ร้อยละ 91.78 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 31.03 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไปในงานส่งเสริมการเกษตร และร้อยละ 92.94 ใช้ประโยชน์ของข้อมูลจากระบบของกรมส่งเสริมการเกษตร และ 4) ปัญหาพบว่า จำนวนคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์มีไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ระบบโปรแกรมการใช้งานไม่เสถียร บุคลากรขาดความรู้ด้านการใช้โปรแกรม และไม่สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้เมื่อโปรแกรมมีปัญหา ข้อเสนอแนะว่า คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ควรจัดสรรให้เพียงพอกับผู้ใช้งาน ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถตอบข้อซักถามและแก้ไขปัญหาได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1676 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159256.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License