Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1679
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorคิมหันต์ สิงห์ไชย, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-10T06:54:47Z-
dc.date.available2022-10-10T06:54:47Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1679-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกมะยงชิด (2) สภาพการผลิตมะยงชิดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) (3) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะยงชิดตาม GAP (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมะยงชิดตาม GAP และ (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะยงชิดตาม GAP ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.23 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.05 คน มีประสบการณ์การปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 6.55 ปี มีพื้นที่การปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 3.98 ไร่ มีรายได้จากมะยงชิดเฉลี่ย 46,161.93 บาทต่อปี มีรายจ่ายในการผลิตมะยงชิดเฉลี่ย 6,887.50 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารการผลิตมะยงชิดจากผู้นำท้องถิ่น (2) สภาพการผลิตมะยงชิด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรในระดับมากที่สุด (3) เกษตรกรทั้งหมดได้รับการส่งเสริมการผลิตมะยงชิด ด้านความรู้และเทคโนโลยีการผลิต ได้รับคำแนะนำในการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตมะยงชิดในด้าน GAP ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะยงชิดมากที่สุดในเรื่องการจัดการตลาด และเทคโนโลยีการดูแลรักษา เกษตรกรต้องการรับการส่งเสริมจาก สื่อบุคคล สื่อกลุ่ม สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์ ในระดับมาก และเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการการสนับสนุนภายหลังการส่งเสริมในด้านการผลิตในด้านการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้เพิ่มเติม (4) ในภาพรวมปัญหาเกษตรกรมีปัญหาในด้านการผลิตมะยงชิดตาม GAP ด้านการตลาดและการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง และภาพรวมเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในการผลิตมะยงชิดในด้านการส่งเสริม ด้านการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และด้านการตลาด ในระดับมาก (5) ในภาพรวมเกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการมะยงชิดตาม GAP ในระดับมากในทุกประเด็น ดังนี้ การให้บริการ การสนับสนุน วิธีการส่งเสริม แบบมวลชน การผลิตมะยงชิดตาม GAP วิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม วิธีส่งเสริมแบบรายบุคคลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมะยงชิด--การผลิต--ไทย--อุตรดิตถ์th_TH
dc.subjectระบบเกษตรที่ดีและเหมาะสม--ไทย--อุตรดิตถ์th_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะยงชิดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์th_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for marian plum production adhering good agricultural practice in Laplae District of Uttaradit Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159271.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons