Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1680
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสิรินาถ อินภูวา, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-10T07:07:49Z-
dc.date.available2022-10-10T07:07:49Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1680-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 65.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.57 ปี เกือบครึ่งจบประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.10 คน เกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร และเกือบครึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าธ.ก.ส. จำนวนแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 1.96 คน เกษตรกรทั้งหมดมีการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง เฉลี่ย 12.32 ไร่ รายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 48,582.35 บาท ต่อปี และรายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 7,250 บาทต่อปี 2) เกษตรกรร้อยละ 97.8 มีความรู้โดยรวมเกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในระดับมาก 3) ในภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่มในการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในระดับมากที่สุด ต้องการด้านความรู้ในระดับมากที่สุด 5 ประเด็นคือ ด้านพื้นที่ปลูก ด้านการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล ด้านการจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว ด้านขนย้าย การเก็บรักษาและการรวบรวมผลิตผล และด้านการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เกษตรกรมีความต้องการด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุดทั้ง 7 ประเด็น คือ ด้านแหล่งเงินทุน ด้านขั้นตอน/วิธีการการตรวจแปลง ด้านวิธีการปฏิบัติ ด้านการเข้าสู่มาตรฐานสินค้า GAP ด้านปัจจัยการผลิต ด้านขั้นตอนการสมัครขอใบรับรองมาตรฐาน และด้านการต่ออายุใบรับรอง และ 4)เกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในระดับมาก เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุน ด้านวิธีการส่งเสริม และด้านความรู้ในระดับมากที่สุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectข้าว--มาตรฐานการผลิตth_TH
dc.subjectข้าว--การปลูกth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทยth_TH
dc.titleความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนมth_TH
dc.title.alternativeExtension need for rice production adhering good agricultural practice of member of the large agricultural land plot in Na Kae District of Nakhon Phanom Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159299.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons