กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1680
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension need for rice production adhering good agricultural practice of member of the large agricultural land plot in Na Kae District of Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรินาถ อินภูวา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าว--มาตรฐานการผลิต
ข้าว--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 65.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.57 ปี เกือบครึ่งจบประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.10 คน เกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร และเกือบครึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าธ.ก.ส. จำนวนแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 1.96 คน เกษตรกรทั้งหมดมีการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง เฉลี่ย 12.32 ไร่ รายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 48,582.35 บาท ต่อปี และรายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 7,250 บาทต่อปี 2) เกษตรกรร้อยละ 97.8 มีความรู้โดยรวมเกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในระดับมาก 3) ในภาพรวมเกษตรกรมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่มในการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในระดับมากที่สุด ต้องการด้านความรู้ในระดับมากที่สุด 5 ประเด็นคือ ด้านพื้นที่ปลูก ด้านการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล ด้านการจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว ด้านขนย้าย การเก็บรักษาและการรวบรวมผลิตผล และด้านการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เกษตรกรมีความต้องการด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุดทั้ง 7 ประเด็น คือ ด้านแหล่งเงินทุน ด้านขั้นตอน/วิธีการการตรวจแปลง ด้านวิธีการปฏิบัติ ด้านการเข้าสู่มาตรฐานสินค้า GAP ด้านปัจจัยการผลิต ด้านขั้นตอนการสมัครขอใบรับรองมาตรฐาน และด้านการต่ออายุใบรับรอง และ 4)เกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในระดับมาก เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุน ด้านวิธีการส่งเสริม และด้านความรู้ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1680
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159299.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons