Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1687
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกิตติมา แซ่จิ้ว, 2521--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-10T07:52:19Z-
dc.date.available2022-10-10T07:52:19Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1687-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมของคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (2) การรับรู้หน้าที่ในการดำเนินงานของคณะกรรมการ (3) การมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของคณะกรรมการ และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของคณะกรรมการ ผลการวิจัย พบว่า (1) คณะกรรมการ ศพก.ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา อาชีพหลักประกอบการเกษตร มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.45 คน รายได้ของครอบครัวเฉลี่ย 258,098.96 บาทต่อปี ระยะเวลาการเป็นคณะกรรมการเฉลี่ย 2.69 ปี ตำแหน่งทางสังคมเป็นผู้นำทางการเกษตร เช่น หมอดินอาสา อาสาสมัครเกษตร (อกม.) เป็นผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ประสบการณ์ด้านการเกษตรเฉลี่ย 20.92 ปี ได้รับแหล่งความรู้หรือข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรมากกว่าครึ่งจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ (2) คณะกรรมการ ศพก. มีการรับรู้หน้าที่ในระดับมากที่สุดในประเด็นการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (field day) เพื่อเริ่มฤดูกาลผลิตใหม่ และในระดับน้อยที่สุดในประเด็นการประชุมวิเคราะห์ศักยภาพศูนย์เรียนรู้ และกำหนดแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับนโยบาย (3) คณะกรรมการ ศพก.มีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย 3 บทบาท โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ บทบาทผู้ให้บริการของ ศพก. บทบาทผู้พัฒนาศักยภาพ ศพก. และบทบาทผู้รายงานการดำเนินงานของ ศพก. (4) คณะกรรมการ ศพก. มีปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมมากที่สุดในบทบาทผู้พัฒนาศักยภาพของศูนย์เรียนรู้ ในประเด็นการจัดทำแผนปฏิบัติงาน แผนการสนับสนุน และกำหนดแนวทางพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบาย โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรชี้แจง ทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และให้ความรู้ในการบริหารจัดการ การจัดทำแผนต่างๆ แก่คณะกรรมการ ศพก.ทุกระดับ และสนับสนุนข้อมูลชนิดพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสินค้าเกษตร--ไทย--การผลิต.th_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--ปทุมธานีth_TH
dc.subjectศูนย์การเรียนชุมชน--ไทย--ปทุมธานีth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดปทุมธานีth_TH
dc.title.alternativeParticipation in operation role by committees of agricultural learning center in Pathum Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159318.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons