กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1689
ชื่อเรื่อง: | การใช้งานโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดระนอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Mobile applications usage for the agricultural extension and development of the personnel of Ministry of Agriculture and Cooperatives in Ranong Provinc |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา อัจฉรี ทวีวานิชย์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ระนอง การพัฒนาการเกษตร--ไทย--ระนอง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทั่วไปของบุคลากร (2) การใช้งานและระดับความจำเป็นต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชั่นของบุคลากร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นของบุคลากร และ (4) แนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อการส่งเสริมการเกษตร ผลการวิจัย พบว่า (1) บุคคลากรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดระนอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 35.42 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 61.1 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 19,827.57 บาท โทรศัพท์มือถือที่ใช้เป็นแบบสมาร์ทโฟนทั้งหมด ส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละวันเฉลี่ย 4.53 ชั่วโมง อุปกรณ์ที่ใช้เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์แบบพกพา ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือ และระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายของสำนักงาน (2) มีการใช้โมบายแอปพลิเคชั่นในกลุ่มข้อมูลมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มพืช และกลุ่มดิน เมื่อพิจารณาแต่ละแอปพลิเคชั่น พบว่า ร้อยละ 38.9 ใช้งานโมบายแอปพลิเคชั่น Q Restaurant ร้อยละ 29.1 ใช้ Protect Plants และร้อยละ 26.9 กดดูรู้ดิน ระดับความจำเป็นของโมบายแอปพลิเคชั่นอยู่ในระดับมาก เป็นกลุ่มข้อมูล จำนวน 5 แอปพลิเคชั่น กลุ่มพืช จำนวน 3 แอปพลิเคชั่น กลุ่มดิน จำนวน 2 แอปพลิเคชั่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 แอปพลิเคชั่น กลุ่มเงิน จำนวน 1 แอปพลิเคชั่น และกลุ่มสัตว์ จำนวน 1 แอปพลิเคชั่น (3) ปัญหาด้านการใช้โมบายแอปพลิเคชั่นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านตัวแอปพลิเคชั่น ข้อเสนอแนะควรศึกษาแอปพลิเคชั่นด้านภาคการเกษตรของภาคเอกชนร่วมด้วย และระดับความสำคัญของแอปพลิเคชั่นภาคการเกษตรในกลุ่มเกษตรกร และ (4) แนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ได้แก่ การพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่มีอยู่แล้วให้มีข้อมูลที่สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน การพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ โดยจัดเป็นกลุ่มตามความต้องการ โดยหน่วยงานต้องมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 256 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1689 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159323.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License