Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1699
Title: | การจัดการการปลูกหม่อนและการเลี้ยงไหมแบบหัตถกรรมของเกษตรกรจังหวัดหนองบัวลำภู |
Other Titles: | Mulberry cultivation, sericulture and management by small scale sericulturists in Nongbua Lamphu Province |
Authors: | กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา ธารงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา กาญจนาพร พันธิรัตน์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ หม่อน--การปลูก การเลี้ยงไหม--ไทย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู 2) การจัดการแปลงหม่อนและการเลี้ยงไหม 3) รายได้จากการขายผลผลิตจากไหม 4) ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกหม่อนและการเลี้ยงไหม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมหัตถกรรม ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมกับกรมหม่อนไหมในปี 2559 จำนวน 460 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จำนวน 214 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.28 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา มีแรงงานเฉลี่ยจำนวน 2 คน การปลูกหม่อนและการเลี้ยงไหมทำเป็นอาชีพเสริม พื้นที่ในการปลูกหม่อนเฉลี่ย 2 งาน ประสบการณ์ในการปลูกหม่อนและการเลี้ยงไหมของเกษตรกรเฉลี่ย 13.26 ปี และเกษตรกรมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม 2) พันธุ์หม่อนที่ปลูกคือพันธุ์บร. 60 โดยใช้แหล่งน้ำธรรมชาติ พื้นที่ปลูกเป็นดินร่วนปนทราย แปลงหม่อนไม่พบโรคและแมลง มีการใส่ปุ๋ยคอกและมีการกำจัดวัชพืช เกษตรกรมีการตัดแต่งกิ่งหม่อนในเดือนพฤษภาคม กิ่งหม่อนที่ตัดแต่งเกษตรกรใช้คลุมแปลงหม่อน เกษตรกรเก็บใบหม่อนสำหรับนำไปเลี้ยงไหม และเกษตรกรไม่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกหม่อน ส่วนการเลี้ยงไหมเกษตรกรมีห้องเลี้ยงไหมแบบประหยัด (แยกจากตัวบ้าน) และได้รับการสนับสนุนไข่ไหมจากหน่วยงานราชการ เป็นไข่ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม ในรอบ 1 ปี เกษตรกรเลี้ยงไหมได้จำนวน 3-4 รุ่นและเลี้ยงจำนวน 1 แผ่น/รุ่น การถ่ายมูลไหมใช้วิธีการคัดตัวไหมออกด้วยมือทั้งวัยอ่อนและวัยแก่ โรคหนอนไหมที่พบคือโรคแกรสเซอรี่ (เต้อ) การลอกรังไหมออกจากจ่อหลังไหมทำรังแล้ว จำนวน 3 วัน เกษตรกรทำความสะอาดโรงเลี้ยงไหมด้วยน้ำเปล่า ส่วนอุปกรณ์การเลี้ยงไหมใช้ผงซักฟอก และเกษตรกรไม่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงไหม 3) รายได้จากการขายผลผลิตที่ได้จากไข่ไหม 1 แผ่นเกษตรกรได้ผลผลิตรังไหมเฉลี่ย 14.79 กิโลกรัม รังไหมที่ได้เกษตรกรนำไปสาวเป็นเส้นไหม ปริมาณเส้นไหมที่สาวเฉลี่ย 1.78 กิโลกรัม เส้นไหมที่สาวคือเส้นไหมชนิด 1 (ไหมน้อย) ส่วนดักแด้เกษตรกรนำไปจำหน่ายได้เงินเฉลี่ย 1,345 บาท ส่วนเส้นไหมที่ได้เกษตรกรนำไปทอเป็นผ้าไหม ได้ผ้าไหมยาวเฉลี่ย 14.47 หลา ชนิดผ้าที่ทอมากคือผ้ามัดหมี่ เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 8,625 บาท 4) ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม อยู่ในระดับปานกลาง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1699 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
160954.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License