กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1701
ชื่อเรื่อง: สื่่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public relation media and member's perceptions of the Nakhon Sawan Teacher Saving Cooperative Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิธร ชุตินันทกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธวัชชัย ทับทิมทอง, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ การประชาสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด 2) ระดับการรับรู้ของสมาชิกกับสื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ของสื่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ของสมาชิกกับสื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ และ 5) ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิกสหกรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือสมาชิกสามัญสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 จำนวน 14,220 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน ที่ขนาดประชากร 15,000 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 375 คน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรในแต่ละศูนย์ประสานงานของสหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.10 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 36.00 อายุเฉลี่ย 52.61 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 71.20 ตำแหน่งหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนหรือครูผู้สอนร้อยละ 50.40 รายได้ต่ำกว่า 35,000 บาท ร้อยละ 52.80 เป็นสมาชิกมากกว่า 30 ปี ร้อยละ 31.20 ระยะเวลาเป็นสมาชิกเฉลี่ย 22.21 ปี มีส่วนร่วมในกิจการของสหกรณ์ด้านสินเชื่อร้อยละ 38.01 และด้านการฝากเงินร้อยละ 37.25 ความถี่ในการรับรู้ข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยรับรู้จากสื่อวารสารสหกรณ์ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.55 ระยะเวลาในการรับรู้ข่าวสารค่าเฉลี่ย 13.20 นาที คุณภาพเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.82 2) ระดับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.36 3) ความความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุและตำแหน่งมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้สื่อทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ความถี่ในการรับรู้ข่าวสารมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ระยะเวลาในการรับรู้ข่าวสารมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้สื่อทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) คุณภาพเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7) ปัญหาและอุปสรรคต่อการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิกสหกรณ์คือ สมาชิกบำนาญใช้สื่อสมัยใหม่ไม่ค่อยเป็น เอกสารที่สหกรณ์จัดส่งมีความล่าช้า ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคือ สหกรณ์ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารโดยใช้ Line Application
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1701
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
160955.pdfเอกสารฉบับเต็ม35.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons