Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1708
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorธนเดช สินธุเสก, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวรรณา ฉายอรุณ, 2508--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-11T04:15:55Z-
dc.date.available2022-10-11T04:15:55Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1708-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (พยาบาลศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจและ พฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษา ระหว่างผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการดูแล ตามโปรแกรมการจัดระบบบริการพยาบาลกับผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วย รังสีรักษาแบบผู้ป่วยนอก ที่ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี จำนวน 40 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม จำนวน เท่ากัน ได้แก่กลุ่มควบคุม ที่ได้รับการดูแลตามปกติ และกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการ จัดระบบบริการพยาบาล เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการจัดระบบบริการพยาบาล ประกอบด้วย แผนการสอนเรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาบริเวณศีรษะและคอ ภาพพลิกเรื่องการ ปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอ โมเดลฟัน คู่มือการดูแลตนเอง และเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบวัดความพึงพอใจต่อการบริการ จำนวน 19 ข้อ แบบวัดพฤติกรรม ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษา จำนวน 27 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบ ความตรงตามเนี้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยง 0.89 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวนและร้อยละ สถิติไคสแควร์ และการทดสอบค่าทีอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งโดยรวมและรายด้าน ยกเว้นด้านคุณภาพของการบริการ พบว่าผู้ป่วยทั้งสอง กลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน 2) ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมใน การดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษาโดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .001 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองดีที่สุดในเรื่องการดูแลผิวหนัง ผลการ วิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ ได้รับรังสีรักษามีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นและมีความพึงพอใจในบริการสูงขึ้นจงควรมีการพัฒนา ระบบบริการพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มอื่น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง มี ความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectบริการการพยาบาล -- ความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดระบบบริการพยาบาลต่อความพึงพอใจ และพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษา ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe effects of nursing service system on satisfaction and self care practices to prevent complications in patients with head and neck cancer who received radiation therapy at Maha Vajiralongkorn Cancer Centerth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were to compare the effects of nursing service system on satisfaction and self care practices to prevent complications in patients with head and neck cancer who received radiation therapy at Maha Vajiralongkorn Cancer Center between a planned nursing service system and routine nursing care. The sample consisted of forty patients who received radiation therapy for head and neck cancer at Maha Vajiralongkorn Cancer Center; subjects were divided equally into a control and an experimental group. The control group received routine care; while the experimental group received planned nursing service system. The set of instruments included planned instruction, a dental model, a flip chart and a self care handbook, 19- item patients’ satisfaction questionnaires, and 27-item self care practices to prevent complications in patients with head and neck cancer who received radiation therapy. Content validity was examined by five experts. The reliability of the first and the second questionnaires were .89 and .84 respectively. The data were analyzed by percentage, chi-square test, and independent t-test. The results showed as follows. (1) The patients in the experimental group rated their satisfaction significantly higher than those in the control group,. There were no significant differences between the two groups in terms of the satisfaction on quality of nursing. (2) The former rated their self care practices to prevent complications significantly higher than the latter (p = .001). They rated “skin care” at the highest level. The results of this study showed that the nursing service system, developed in this study, helped to increase self care practices and patients’ satisfaction. Therefore, this system should be developed and applied to other cancer patients to improve self care practices, to prevent complications, and to increase the quality of their lifeen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib107349.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons