กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1710
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดการเผาตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines for rice stubble and straw burning reduction management in Mueang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan Provinc |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา บาเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา สุเมธ อนุสี, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ฟางข้าว--การเผาเป็นเถ้า--การจัดการ ของเสียทางการเกษตร--แง่สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--นครสวรรค์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) การจัดการตอซังและฟางข้าวของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเพื่อลดการเผาตอซังและฟางข้าว 4) ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดการเผาตอซังและฟางข้าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ทำการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในปีการผลิต 2561/62 จำนวน 7,091 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 199 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรในแต่ละตำบล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวร้อยละ 55.3 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยที่ 51.62 ปี ร้อยละ 78.9 จบประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.72 ราย มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.39 ราย โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวของครัวเรือนเฉลี่ย 19.19 ไร่ ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 710.83 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้จากการผลิตข้าวเฉลี่ย 4,953.95 บาท/ไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,375.40 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยวอยู่ในระดับมาก เกษตรกรร้อยละ 68.3 เคยมีประสบการณ์ไถกลบตอซังและฟางข้าวโดยเกษตรกรเห็นด้วยกับการเผาตอซังและฟางข้าวทิ้งในระดับน้อย 3) เกษตรกรเห็นว่าปัจจัยด้านประเด็นการส่งเสริม ด้านวิธีการส่งเสริม และด้านนโยบายมีระดับความสำคัญต่อการตัดสินใจในการจัดการตอซังและฟางข้าวโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดการเผาตอซังและฟางข้าวในด้านประเด็นการส่งเสริม ด้านวิธีการส่งเสริม และนโยบายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมในด้านประเด็นการส่งเสริม ด้านวิธีการส่งสริม และด้านนโยบายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1710 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
162176.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License