Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1740
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์สถาบันบำราศนราดูร กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แนวคิดของการจัดการความรู้ |
Other Titles: | The development of a self-care management model for pediatric AIDS patients in Bamrasnaradura Infectious Disease Institute based on knowledge management |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา พิเชฐ บัญญัติ, อาจารย์ที่ปรึกษา สมถวิล อัมพรอารีกุล, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ โรคเอดส์ในเด็ก -- การดูแล โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย -- การดูแล การบริหารองค์ความรู้ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดการดูแล ผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ สถาบันบำราศนราดูร โดยใช้การจัดการความรู้ (2) ประเมินความเหมาะสมในการนำ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย จำนวนทั้งหมด 51 คน ประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ 15 คน ผู้ดูแล 20 คน และผู้ป่วยเด็กโรดเอดส์ 16 คน เครื่องมือที่ใช้ไนการวิจัยมี 2 ชุด คือ (1) ประเด็นสนทนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในการทำกลุ่มแต่ละกลุ่ม และ (2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็ก โรคเอดส์ เครื่องมือทั้งสองชุดผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าดัชนี ความตรงตามเนื้อหา มีค่าระหว่าง 0.80 -1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มใช้ เทคนิค การเล่าเรึ่องและสุนทรียสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 9 องค์ประกอบคือ 1.1 ทีมผู้ดูแลทั้งผู้ให้บริการและผู้ใชับริการประสานความร่วมมือดูแลผู้ป่วย 1.2 มาตรฐานการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาล 1.3 การรับประทานยาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง 1.4 การให้ ความรู้ด้วยสื่อที่เหมาะสมกับเด็กและการทำกลุ่มสนทนาในผู้ดูแล 1.5 การสร้างเสริมสุขภาพทางกายและ จิตใจ เตรียมความพร้อมก่อนเปิดเผยผลเลือดและเข้าสู่วัยรุ่น 1.6 การช่วยเหลือด้านสังคมสวัสดิการและ พิทักษ์สิทธิผู้ป่วย 1.7 การพัฒนาเครือข่ายที่ดูแลผู้ป่วยเด็กให้เชื่อมโยงกับสถาบันเป็นการดูแลอย่าง ต่อเนื่อง 1.8 ให้ความรัก ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความเอาใจใส่และดูแลแบบหัวใจมนุษย์ของผู้ดูแล ทั้งหมด การประเมินผลแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง 1.9 เป้าหมายของรูปแบบคือคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก (2) การประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการจัดการดูแลผู้ป่วย เด็กโรคเอดส์ตามบริบทของสถาบันบำราศนราดูร ในระดับความเชื่อมั่น 0.93 จากผลการวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเด็กโรค เอดส์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ โดยใช้ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะต่างๆ ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคลนำมาแลกเปลี่ยนเป็นความรู้ที่เปิดเผยและพัฒนาเป็นรูปแบบการ ดูแลที่เหมาะสม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1740 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib107641.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License