กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1759
ชื่อเรื่อง: เจตคติของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมและการผลิตแบบมีสัญญาซื้อขายในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคิรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farmers' attitude towards the good agricultural practice and contract farming for Manaifera indica Linn. in Kuiburi District, Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรชัย พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุจิกา ฉิมอ่อง, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ทัศนคติ
มะม่วงน้ำดอกไม้--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ ในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4 ประกำร คือ 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) เจตคติของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และปัญหาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม 3) การรับรู้เรื่องการทำพันธะสัญญาซื้อขาย และ 4) ควำมสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมำะสม ผลการวิจัยพบว่ำ 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.36 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษำปีที่ 4 แรงงานที่ใช้เป็นแรงงานในครัวเรือน เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเอง มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 13.62 ไร่ต่อครัวเรือน ผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เฉลี่ย 844.79 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 9,100 บำทต่อไร่ต่อปี ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิต และมีรายได้เฉลี่ยของเกษตรกร 315,302 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีเจตคติที่ดีมากต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ และมีปัญหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกำรปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติเนื่องจากมีความยุ่งยากและขาดแคลนแรงงาน 3) เกษตรกรรับรู้เรื่องการทำพันธะสัญญาซื้อขาย ร้อยละ 28.40 ซึ่งได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ/หน่วยงานราชการ และเหตุผลที่เกษตรกรให้ความสำคัญในการตัดสินใจทำพันธะสัญญาซื้อขายอยู่ในระดับสำคัญมาก ได้แก่ ราคาดี ได้เงินเร็ว ขายผลผลิตได้แน่นอน มีเงินทุนและปันผล รับซื้อผลผลิตตกเกรด ข้อตกลงดี ไม่เอาเปรียบทางการค้า การขนส่งสะดวก และได้รับข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว 4) ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของ เกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ต้นทุนการผลิต และขนาดของพื้นที่ปลูก และปัจจัยที่มีต่อการรับรู้เรื่องการทำพันธะสัญญาซื้อขายของเกษตรกรที่ไม่ได้รับกำรอบรมมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ ระดับการศึกษา และขนาดของพื้นที่ปลูก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1759
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
139957.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons