กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1764
ชื่อเรื่อง: การผลิตยางพาราและความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Para rubber production and agricultural extension needs of farmers in Palian District of Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณธิดา เบญจกุล, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ตรัง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการ ผลิตยางพารา (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตยางพารา (4) ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการผลิต ยางพารา (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตยางพาราและการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.64 ปี นับถือศาสนาพุทธ จบ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.34 คน เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รับรู้ข้อมูลการเกษตรทางโทรทัศน์ ประสบการณ์ทาสวนยางเฉลี่ย 21.31 ปี รายได้และรายจ่ายรวมของครัวเรือนเฉลี่ย 370,086.04 และ 338,043.19 บาทต่อปี ใช้เงินทุนของตนเอง เกือบครึ่งหนึ่งมีหนี้สิน พื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 24.33 ไร่ (2) พื้นที่ปลูกยางและพื้นที่เปิ ดกรีดเฉลี่ย 21.04 และ 17.08 ไร่ อายุยางเฉลี่ย 14.32 ปี พื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ ปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 ด้วยต้นตอตายาง ระยะ 3x7 เมตร มีการ กา จัดวัชพืชทุกปี โดยใช้แรงงานคน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 เฉลี่ย 1.09 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี จา นวน 2 ครั้ง/ปี ช่วงเดือนเมษายน- พฤษภาคม และเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยการหว่าน มากกว่าครึ่งใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เฉลี่ย 0.70 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี จา นวน 1 ครั้งต่อปี ช่วงเดือนเดียวกันกับการใช้ปุ๋ยเคมีโดยการหว่าน เกือบทุกราย พบโรคและแมลงศัตรูระบาด แต่ไม่ได้ป้องกันกาจัด ใช้ระบบกรีดถี่ ช่วงเวลา 02.00-04.00 น. มีแรงงานกรีดยางใน ครัวเรือนและจ้างแรงงานในท้องถิ่นเฉลี่ย 1.87 และ 2.86 คน ผลิตน้า ยางสด ขายพ่อค้าในท้องถิ่นในราคาเฉลี่ย 74.72 บาทต่อกิโลกรัม วันกรีดเฉลี่ย 140.10 วันต่อปี ผลผลิตเฉลี่ย 271.24 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (3) ความรู้เกี่ยวกับ การผลิตยางในภาพรวมระดับปานกลาง โดยเกษตรกรน้อยกว่าครึ่งมีความรู้เกี่ยวกับผลผลิตของยางพันธุ์ RRIM 600 การใส่ปุ๋ยยางที่เหมาะสมแก่ยางเปิดกรีดแล้ว ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสมในการปลูกยาง (4) ความต้องการความรู้ในระดับมากเกี่ยวกับการปลูกสร้างสวน การดูแลรักษาสวน การปรับปรุงคุณภาพยาง และ การตลาด ส่วนความต้องการวิธีการส่งเสริมการเกษตรในระดับมากแบบกลุ่มและรายบุคคล (5) ปัญหาระดับมาก เกี่ยวกับโรคแมลงศัตรู การตลาด วัสดุและปัจจัยการผลิต มีข้อเสนอแนะว่ารัฐควรประกันราคาผลผลิตยาง และ ควรมีเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมเยียนบ่อยขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1764
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
139973.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons