Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1768
Title: | การจัดการวิสาหกิจชุมชนธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริบ้านหน่วยประคอง ตำบลดงดินแดง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Management of a village bank community enterprise under his majesty the King's Royal Initiative in Baan Nhuayprakong, Dong Din Daeng Subdistrict, Nong Muang District, Lopburi Province |
Authors: | สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา อัมไพ สวนขำ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ลพบุรี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) สภาพการจัดการของวิสาหกิจชุมชนธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ ผลการวิจัย พบว่า 1) ร้อยละ 61.80 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 50.34 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนต้นมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่มีตาแหน่งใด ๆ ในชุมชน แต่เป็นสมาชิกกลุ่มอื่นๆ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและแม่บ้านเกษตรกร พื้นที่ทาการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 60.71 ไร่/ครัวเรือน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.9 คน นอกจากทาไร่เป็นอาชีพหลักแล้ว ยังประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ รับจ้างแรงงาน ค้าขาย และรับเหมาธุรกิจส่วนตัว สภาพการจัดการของวิสาหกิจชุมชนด้านการบริหารกลุ่ม มีแผนการดาเนินงาน มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ กรรมการ และเลขานุการ มีวาระการดารงตาแหน่ง 2 ปี มีการกาหนดบทบาทหน้าที่กรรมการที่ชัดเจน มีจานวนสมาชิก 307 คน มีกฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารกลุ่มที่ชัดเจน และมีการบริหารงานเป็นระบบ ด้านกองทุนหมุนเวียนและการบริหาร กรรมการบริหารกองทุนเป็นชุดเดียวกับคณะกรรมการบริหารกลุ่ม มีกฎระเบียบของการบริหารเงินกองทุน มีการจัดทาบัญชีรายรับ-รายจ่าย มีการระดมหุ้นจากสมาชิก มีการปันผล มีการตรวจสอบการสรุปและประเมินผลโดยสมาชิกและกรรมการ แหล่งที่มาของเงินกองทุนเริ่มต้นจากการระดมทุนและหุ้นจากสมาชิก ต่อมาสมทบจากเงินกองทุนหมู่บ้านและการสนับสนุนเงินทุนจาก ธ.ก.ส. ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 10,000,000 บาท มีการบริการด้านสินเชื่อให้สมาชิกกู้ยืมไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนให้ความรู้กับสมาชิกและประชาชนในชุมชน ด้านการเรียนรู้ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการเงินของชุมชน สามารถติดต่อขอศึกษาดูงานได้ตลอดและเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านอื่น ๆ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ปัจจัยภายใน คือ การจัดองค์กรตามระบบการจัดการ ได้แก่ แผนงาน มีแผนงานในการบริหารงาน การจัดโครงสร้างองค์กร มีการแบ่งหน้าที่ในการทางานและทุกคนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ภาวะผู้นา มีผู้นาที่มีความใฝ่รู้ เสียสละและมีจิตสาธารณะ ระบบการควบคุม มีระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน มีระบบข้อมูลโปร่งใสตรวจสอบได้ และมีกิจกรรมการบริหาร ที่ส่งเสริมให้การจัดองค์กรมีความแข็งแรงอย่างสม่าเสมอ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สถาบันการเงินและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการดาเนินงานและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สภาพดินฟ้าอากาศและปัจจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1768 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140314.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License