Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1782
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนภาคเหนือที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล |
Other Titles: | Factors influencing participation of professional nurses for hospital accreditation at accredited community hospitals in the northern region |
Authors: | พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา หทัยนุช ภู่เพ็ง, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนของ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนภาคเหนือ ที่ ได้รับการรับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนภาคเหนือ ที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับการรับรองคุฌภาพ โรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนภาคเหนือ ที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงานโนโรงพยาบาลชุมชนภาคเหนึอ ที่ได้รับรองคุณภาพ โรงพยาบาล จำนวน 324 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุนของการมีส่วนร่วมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนภาคเหนือ ทื่ได้รับรองคุณภาพโรงพยาบาล ชึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาด ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนของปัจจัยสนับสนุนของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เท่ากับ 0.99 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพพบว่าพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ ระหว่าง 41 - 50 ปีมากที่สุดอายุเฉลี่ย 39.52 ปีสถานภาพสมรสคู่ วุฒิการศึกษาปริญญตรีหรือเทียบเท่า ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเฉลี่ย 13.79 ปี ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 11 – 15 ปี มีตำแหน่งที่ได้รับการมอบหมายในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาท รัอยละ 75.9 และได้รับการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ร้อยละ 94.4 ปัจจัยสนับสนุนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ว่าไโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาทชุมชนภาคเหนือ ที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ (ก) ปัจจัยสนับสนุนด้านลักษณะงาน ปัจจัยสนับสนุนด้านผู้นำ การได้รับการอบรมและวุฒิการศึกษา (ข) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านตำแหน่งที่ได้รับในงานพัฒนาคุณภาพ ระยะเวลาในการปฎิบัติงานโดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วม ในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนภาคเหนือ ที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล รัอยละ 63.8 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1782 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib108875.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License