Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1788
Title: ศักยภาพในการให้ผลผลิตของข้าวโพดหวานลูกผสม 8 พันธุ์ที่ปลูกในฤดูแล้งและฤดูฝน ปี พ.ศ.2556
Other Titles: Yield potentials of Eight Sweet Corn Hybrids during Dry and Rainy Seasons of 2013
Authors: อัจฉรา จิตตลดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กลอยใจ คงเจี้ยง, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพดหวาน--การปลูก
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม 8 พันธุ์ที่ปลูกในฤดูแล้งและฤดูฝน 2) ศักยภาพในการให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดหวานลูกผสม 8 พันธุ์ ผลการการศึกษาพบว่า 1) ในแต่ละฤดูพบความแตกต่างทางสถิติของทุกลักษณะที่ศึกษา 2) การวิเคราะห์ผลรวมพบว่า ลักษณะที่พบว่าฤดูปลูกกับพันธุ์มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ คือ อายุออกดอกตัวผู้ อายุออกไหม ความสูงของฝัก น้ำหนักฝักทั้งเปลือก น้ำหนักฝักปอกเปลือก ความกว้างฝัก ความยาวฝัก และความหวาน 3) ลักษณะที่พบว่าฤดูปลูกกับพันธุ์ไม่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ คือ อายุเก็บเกี่ยว และ ความสูงของต้น 4) ในฤดูแล้ง พันธุ์ซูการ์สตาร์ พันธุ์ CNSH 7550 พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และพันธุ์ฮันนี่สวีท ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือกสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ ขณะที่ พันธุ์สงขลา 84-1 พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 และพันธุ์ฮันนี่สวีท ให้ผลผลิตฝักปอกเปลือกสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ และพันธุ์อินทรีย์ 2 ให้ความหวานสูงที่สุด 5) ในฤดูฝน พันธุ์ของทางราชการทั้ง 3 พันธุ์ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือกและผลผลิตฝักปอกเปลือกต่ากว่าพันธุ์ของเอกชนทั้ง 5 พันธุ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สาหรับความหวาน พันธุ์สงขลา 84-1 พันธุ์อินทรีย์ 2 และพันธุ์ฮันนี่สวีท ให้ความหวานที่สูงกว่าอีก 5 พันธุ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1788
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140605.pdf9.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons