Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1789
Title: การจัดการดินและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Soil and fertilizer management based on soil analysis data for rice production by farmers at Krabeung Yai Sub-district in Phimai District of Nakhon Ratchasima Province
Authors: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑามาศ ไกรเพิ่ม, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ดิน--การวิเคราะห์
ข้าว--ปุ๋ย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) การจัดการดินและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินโดยใช้โปรแกรมคำแนะนาการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง (3) การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ก่อนและหลังการจัดการดินและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (4) เปรียบเทียบค่าความเป็นกรดเป็นด่างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ก่อนและหลังการจัดการดิน ตามค่าวิเคราะห์ดิน (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการดินและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-60 ปี แหล่งรายได้หลักของครอบครัว คือ เกษตรกรรม (2) สภาพพื้นที่ปลูกข้าวเป็นนาลุ่ม ดินร่วน,ดินร่วนปนทราย ปลูกข้าวพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีหว่านแห้ง มีการไถกลบตอซังข้าว อัตราการใส่ปุ๋ยเคมีลดลง ปุ๋ยคอกที่ใช้ คือ ปุ๋ยมูลขี้ไก่ ปุ๋ยหมักมีการผลิตเองโดยใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด และผลิตน้าหมักชีวภาพจากพืชผัก (3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ต้นทุนการผลิตข้าว ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และผลผลิตข้าวของเกษตรกร ก่อนและหลังการจัดการดินตามค่าวิเคราะห์ดิน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ มีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหลังการจัดการดิน ปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังการจัดการดิน (5) ปัญหาการจัดการดินของเกษตรกรในการปลูกข้าวอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ผลผลิตพืชต่อไร่
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1789
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140961.pdf16.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons