Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1794
Title: การจัดการแปลงหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมของเกษตรกร จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Mulberry plantation management for industrial sericulture by farmers in Phitsanulok Province
Authors: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัฒตรา วังกาวรรณ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
หม่อน--การปลูก
ไหม
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอุตสาหกรรม 2) การจัดการแปลงหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการแปลงหม่อนของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ให้ข้อมูลเป็นหญิงและชายในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ย 45.68 ปี มีครอบครัวขนาดปานกลาง และเป็นคนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และเป็นสมาชิกกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เกษตรกรมีอาชีพหลักคือปลูกหม่อนเลี้ยงไหม รายได้ของเกษตรกรมาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ใช้แรงงานภายในครอบครัวและส่วนน้อยมีการจ้างแรงงานในช่วงไหมสุก พื้นที่ในการปลูกหม่อนเฉลี่ย 10.47 ไร่ การใช้น้าจากอาศัยน้าฝนเพียงอย่างเดียว พันธุ์หม่อนที่ปลูกคือพันธุ์สกลนคร ได้รับมาจากบริษัทเอกชน เกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีการตัดแต่งกิ่งหม่อน โรคที่สาคัญคือโรคราแป้ง แมลงที่สาคัญคือแมลงหวี่ขาว เกษตรกรไม่มีการป้องกันกาจัดโรคและแมลง ยกเว้นการกาจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี จานวนรุ่นการเลี้ยงไหมเฉลี่ย 6.72 รุ่น/ปี เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องการจัดการแปลงหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมอุตสาหกรรม และได้รับการอบรมในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเฉลี่ย 1.35 ครั้งต่อปี 2) เกษตรกรปฏิบัติตามหลักวิชาการในการเตรียมพันธุ์หม่อน วิธีการปลูก การไถพรวน การใส่ปุ๋ยคอก การใส่ปุ๋ยเคมี การตัดแต่งกิ่งหม่อน และการกาจัดวัชพืช เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามหลักวิชาการในเรื่องการให้น้า เนื่องจากไม่มีแหล่งน้าที่จะนามาใช้ในการรดหม่อน และสภาพพื้นที่บางแห่งเป็นพื้นที่เชิงเขาค่อนข้างลาดชัน และการป้องกันกาจัดโรค นอกจากนี้ยังไม่กาจัดแมลงศัตรูหม่อน เนื่องจากจะมีผลเสียหรืออันตรายต่อหนอนไหม และเกษตรกรบางรายไม่เคยพบการระบาดของโรคและแมลงศัตรูหม่อน 3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหาในเรื่องปุ๋ยเคมีและสารเคมีกาจัดวัชพืชที่มีราคาแพงมากที่สุด เพราะทาให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องราคารังไหมที่ไม่แน่นอน ข้อเสนอแนะคือ เกษตรกรต้องการพันธุ์หม่อนที่ทนแล้ง และความช่วยเหลือจากภาครัฐในเรื่องแหล่งน้าและเทคโนโลยีในการป้องกันกาจัดโรคและแมลงที่ไม่เป็นอันตรายต่อตัวไหม
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1794
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140984.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons