กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1824
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมและการผลิตมังคุดของเกษตรกรในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mangosteen production and extension needs of farmers in Klaeng District of Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชานน ถนอมวงศ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ระยอง
มังคุด--การผลิต--ไทย--ระยอง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การผลิต มังคุดของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตมังคุดของเกษตรกร และ (4) ความต้องการ การส่งเสริมการผลิตมังคุดของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 92.7 เป็นเพศชาย ร้อยละ 92.7 อายุเฉลี่ย 51.98 ปี ส่วนมากจบ การศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.98 คน มีแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.38 คน มีการจ้างแรงงาน รับจ้างเฉลี่ย 14.49 คน การผลิตมังคุดใช้เงินทุนของตนเอง เกษตรกรร้อยละ 95.3 เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ส่วนมาก เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรส่วนมากประกอบอาชีพหลักคือทำสวนยางพาราและอาชีพรอง คือ ทำสวนผลไม้ มี ประสบการณ์ในการผลิตมังคุดเฉลี่ย 15.8 ปี พื้นที่ในการผลิตมังคุดเฉลี่ย 6.02 ไร่ ประเภทของสวนมังคุดร้อยละ 92.2 เป็น สวนผสม (ปลูกมากกว่า 2 ชนิด) อายุของต้นมังคุดเฉลี่ย 15.13 ปี ผลผลิตมังคุด เฉลี่ย 598.50 กิโลกรัมต่อไร่ ค่าใช้จ่ายใน การผลิตมังคุดเฉลี่ย 4,060.88 บาทต่อไร่ รายได้ในการผลิตมังคุดเฉลี่ย 10,538.87 บาทต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 43.5 มีการ จำหน่ายมังคุดที่ตลาดซื้อขายผลไม้ท้องถิ่น เกษตรกรทุกครัวเรือนมีโทรทัศน์ ชนิดสื่อในชุมชนร้อยละ 54.4 คือสื่อจาก ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และเกษตรกรร้อยละ 98.4 มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตมังคุดจาก เจ้าหน้าที่จากภาคเอกชน/บริษัทและรองลงมาร้อยละ 75.1 จากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (2) การผลิตมังคุด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติในประเด็นต่างๆได้แก่ มีสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย โดยซื้อต้นพันธุ์จากแหล่งจำหน่ายต้น พันธุ์ที่มีการรับรอง เกษตรกรทั้งหมดมีการขุดหลุมปลูกผสมดินปลูก การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยว การใช้สารกำจัดวัชพืช หลังเก็บเกี่ยว การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อชักนำการแตกใบอ่อน การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 เพื่อเตรียมความพร้อมต้นสำหรับการออกดอก การฉีดพ่นสารเคมีป้ องกันเพลี้ยไฟในระยะออกดอก การจัดการปริมาณดอก ต่อต้น การจัดการน้ำเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของผล การเก็บมังคุดหลังติดผล 11-12 สัปดาห์ การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพ และการคัดแยกคุณภาพก่อนจำหน่าย (3) มีปัญหามากในเรื่องการดูแลระยะการออกดอก การดูแลระยะการ ออกผลและบำรุงผล (4) เกษตรกรมีความต้องการด้านความรู้ในการผลิตมังคุดในด้านการดูแลระยะการออกดอก การดูแล ระยะการออกผลและบำรุงผลผลิต การเตรียมแตกใบอ่อน - ออกดอกในระดับมาก ด้านช่องทาง พบว่า เกษตรกรมีความ ต้องการช่องทางการส่งเสริมในประเด็นการผลิตมังคุดในระดับมาก ผ่านทางโทรทัศน์และบุคคลราชการ ด้านวิธีการ ส่งเสริม พบว่า เกษตรกรมีความต้องการวิธีการส่งเสริมในประเด็นการผลิตมังคุดในระดับมาก ในรูปแบบการบรรยาย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142415.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons