Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1837
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorธัญรดี จิรสินธิปก, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorโกลัญญา สมานวงษ์, 2509--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-25T07:09:34Z-
dc.date.available2022-10-25T07:09:34Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1837-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการใช้ อำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วย การปฏิบัติด้านการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วยและประสิทธิผล ของหอผู้ป่วย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจ การปฏิบัติด้านการบริหารของ หัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ร่วมกันทำนายประสิทธิผล ของหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขต 8 จำนวน 351 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเกาะกลุ่มสุ่ม 2 ชั้น เครื่องมีอที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับการใช้อำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วย การปฏิบัติด้านการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงและวิเคราะห์ความเที่ยงได้เท่ากับ 0.95,0.97 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่ม ตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) การใช้อำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วย การปฏิบัติด้านการบริหาร ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) การใช้อำนาจของ หัวหน้าหอผู้ป่วยและการปฏิบัติด้านการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ประสิทธิผลของหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (3) การควบคุม การวางแผน และการจัดการบุคลากร (เป็นองค์ประกอบของการปฏิบัติด้านการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วย) สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของหอผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดย สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยได้ร้อยละ 41.2th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาล -- การบริหารth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจการปฏิบัติด้านการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน เขต 8th_TH
dc.title.alternativeRelationships among power use, administrative performance of head nurses, and effectiveness of patient units at community hospitals, Region 8th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive study were: (1) to investigate the level of the use of power, administrative performance of head nurses, and the effectiveness of patient units; (2) to explore relationships among the use of power, administrative performance of head nurses, and effectiveness of patient units; and (3) to identify the predictors of effectiveness of patient units. The sample comprised 351 registered nurses who worked at community hospitals, Region 8. They were selected by two-stage cluster sampling. Questionnaires were used as research tool including three sections: the use of power, administrative performance, and the effectiveness of patient units. The Questionnaires were tested for validity and reliability. The reliabilities of the first to the third sections were 0.95,0.97, and 0.95 respectively. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression. Major findings were as follows. (1) Registered nurses rated the use of power, administrative performance of head nurses, and the effectiveness of patient units at the high level. (2) There were significantly positive relationships among (a) the use of power, (b) administrative performance of head nurses, and (c) the effectiveness of patient units (j.) < 0.01). (3) Controlling, planning, and organizing (three areas of administrative performance of head nurses) predicted the effectiveness of patient units. These predictors accounted for 41.2 %en_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib110007.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons