Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1843
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ ในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | Factors relating to farmer satisfaction towards the economic crop registration project in Bang Lamung District of Chon Buri Province |
Authors: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา อาทิตย์ ทองพิมพ์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ โครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ เกษตรกร ความพอใจของเกษตรกร |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรในอาเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (2) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ (3)ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.67 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.23 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร มีประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 10.01 ปี แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.62 คน พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ย 25.52 ไร่ผลผลิตเฉลี่ย 4,493.53 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 235,555 บาทต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,457.33 บาทต่อไร่ และเกือบสามในสี่ใช้เงินทุนของตนเองและครอบครัวในการลงทุน (2) เกษตรกรมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจจากแหล่งต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด (3) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลผลิตที่ได้รับจากการผลิตมันสำปะหลัง ประสบการณ์ในการผลิตมันสาปะหลัง และการรับรู้ข้อมูลการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ (5) ปัญหาของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจพบว่ามีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรเพิ่มรูปแบบหรือช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้มีความหลากหลาย และมีความถี่ในการประชาสัมพันธ์มากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1843 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
142698.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License