Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1845
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศรีวรรณ เลอสรวง, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-26T02:34:16Z-
dc.date.available2022-10-26T02:34:16Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1845-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพส่วนบุคคล ทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) ความรู้พื้นฐานของเกษตรกรเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟ (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการตัดฟื้นต้นกาแฟ (4) การยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดฟื้นต้นกาแฟ (6) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.74 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.88 คน จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่ไม่มีตาแหน่งทางสังคม และเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. อาชีพหลักทำสวน มีประสบการณ์การปลูกกาแฟเฉลี่ย 10.32 ปี จำนวนพื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 18.50 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 8.57 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของตนเองและมีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนด ลักษณะการปลูกกาแฟเป็นแบบสวนเดี่ยว อายุต้นกาแฟเฉลี่ย 8.76 ปี มีจำนวนแรงงานในการผลิตกาแฟเฉลี่ย 4.12 คน รายได้จากการผลิตกาแฟเฉลี่ย 133,268 บาท และรายจ่ายการผลิตกาแฟเฉลี่ย 38,199 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สินในการผลิตกาแฟ และใช้เงินทุนตัวเองในการปลูกกาแฟ ส่วนมากได้รับการอบรมเฉลี่ย 1.9 ครั้ง ได้รับข้อมูลข่าวสารในการปลูกกาแฟค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งสื่อประเภทโทรทัศน์และการไปศึกษาดูงาน (2) เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟให้ความเห็นว่าไม่ควรใช้ขวานหรือมีดฟันตัดกิ่งกาแฟมากที่สุด (3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเห็นว่าการตัดฟื้นต้นกาแฟเป็นการกระตุ้นการให้เกิดการสร้างระบบกิ่งก้านใหม่เปรียบเสมือนการฟื้นชีวิตให้ต้นกาแฟที่มีอายุมากมากที่สุด (4) การยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่คาดว่าในอนาคตจะตัดฟื้นต้นกาแฟ โดยในปัจจุบันมีการตัดฟื้นต้นกาแฟเมื่อกิ่งหลักฉีกหัก เสียหายจากภัยธรรมชาติหรือจากการทำลายของโรค-แมลงศัตรูกาแฟ (5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เช่น การขาดความรู้ทางเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟ (6) ผลการทดสอบสมมุติฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร ลักษณะการปลูกกาแฟ อายุต้นกาแฟ จำนวนแรงงานในครัวเรือน รายได้จากกาแฟ ประสบการณ์การปลูกกาแฟ การเป็นสมาชิกกลุ่ม การได้รับการอบรม และการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟมากขึ้น จึงมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนด้านต่างๆ แก่เกษตรกร เช่น ความรู้และเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดฟื้นต้นกาแฟ การส่งเสริมการผลิตกาแฟคุณภาพเพื่อเพิ่มราคาจำหน่าย เช่น การผลิตกาแฟอินทรีย์ กาแฟมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร เป็นต้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.326-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกาแฟ--การผลิตth_TH
dc.titleการยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกรตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativeAdoption of coffee rejuvenation technology by farmers in Khao Talu Sub-District, Sawi District, Chumphon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.326-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study (1) personal and socio-economic backgrounds of farmers, (2) fundamental knowledge of coffee rejuvenation technology of farmers, (3) opinion towards coffee rejuvenation technology of farmers, (4) adoption of coffee rejuvenation. (5) problems and suggestions for coffee rejuvenation, (6) factors relating to an adoption of coffee rejuvenation. Population of this research was coffee farmers in Khao Talu Sub-District, Sawi District, Chumphon Province with of 257 samples. Research instrument for data collection was interview form. Statistics used for data analysis including percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. Research findings were showed that: (1) Most of the farmers were female with the average age of 46.74 years. The average household member was 3.88 persons. They finished primary education. Most of them did not hold any social positions. They were customers of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. The main occupation was coffee farmers. The average experience in growing coffee was 10.32 years. The average farming area was 18.50 rai (1 rai = 1,600 square meters), out of 8.57 rai was coffee growing area owned by them with title deeds. Growing coffee was single plantation. The average age of coffee tree was 8.76 years. The average labor for coffee production was 4.12 persons. The average income from coffee production was 133,268 baht while the average expense in coffee production was 38,199 baht. Most of them were not in debts from coffee production and spent their own money in growing coffee. The average participation in training was 1.9 time. They received coffee information at low level. They mostly received from agricultural extensionists, television, and study visit. (2) The farmers had fundamental knowledge on coffee rejuvenation opined at high level that axe or big knife should not be used to cut coffee branches. (3) The farmers had overall coffee rejuvenation opinion at medium level, and suggested that coffee rejuvenation was the method to accelerate to grow new branches as to revive the coffee tree as long as possible. (4) In terms of adoption of coffee rejuvenation technology, most of the farmers were expected to conduct coffee rejuvenation in the future. At present, rejuvenation would be done after the main branches were broken down by natural disaster or damaged by coffee diseases or pests. (5) The overall problem in coffee rejuvenation was at low level i.e. they had no knowledge in coffee rejuvenation technology. (6) From hypothesis test of factors relating to adoption of coffee rejuvenation technology, it was found that age, education level, number of household members, size of agricultural land, and characteristics of growing coffee, age of coffee trees, number of household labor, income from coffee and experience in growing coffee, group membership, training attendance and support from agricultural extensionists relating to an adoption of coffee rejuvenation technology. To promote more adoption of coffee rejuvenation technology, it was suggested that public sector must provide support to farmers i.e. knowledge, equipment/tools for coffee rejuvenation, promotion of good quality coffee production for additional selling price i.e. organic coffee production, GAP coffee standard, increasing dissemination of coffee information production as well as promotion of group integration by farmers.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142701.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons