กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1845
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกรตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of coffee rejuvenation technology by farmers in Khao Talu Sub-District, Sawi District, Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรีวรรณ เลอสรวง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
กาแฟ--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพส่วนบุคคล ทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) ความรู้พื้นฐานของเกษตรกรเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟ (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการตัดฟื้นต้นกาแฟ (4) การยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดฟื้นต้นกาแฟ (6) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.74 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.88 คน จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่ไม่มีตาแหน่งทางสังคม และเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. อาชีพหลักทำสวน มีประสบการณ์การปลูกกาแฟเฉลี่ย 10.32 ปี จำนวนพื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 18.50 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 8.57 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของตนเองและมีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนด ลักษณะการปลูกกาแฟเป็นแบบสวนเดี่ยว อายุต้นกาแฟเฉลี่ย 8.76 ปี มีจำนวนแรงงานในการผลิตกาแฟเฉลี่ย 4.12 คน รายได้จากการผลิตกาแฟเฉลี่ย 133,268 บาท และรายจ่ายการผลิตกาแฟเฉลี่ย 38,199 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สินในการผลิตกาแฟ และใช้เงินทุนตัวเองในการปลูกกาแฟ ส่วนมากได้รับการอบรมเฉลี่ย 1.9 ครั้ง ได้รับข้อมูลข่าวสารในการปลูกกาแฟค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งสื่อประเภทโทรทัศน์และการไปศึกษาดูงาน (2) เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟให้ความเห็นว่าไม่ควรใช้ขวานหรือมีดฟันตัดกิ่งกาแฟมากที่สุด (3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเห็นว่าการตัดฟื้นต้นกาแฟเป็นการกระตุ้นการให้เกิดการสร้างระบบกิ่งก้านใหม่เปรียบเสมือนการฟื้นชีวิตให้ต้นกาแฟที่มีอายุมากมากที่สุด (4) การยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่คาดว่าในอนาคตจะตัดฟื้นต้นกาแฟ โดยในปัจจุบันมีการตัดฟื้นต้นกาแฟเมื่อกิ่งหลักฉีกหัก เสียหายจากภัยธรรมชาติหรือจากการทำลายของโรค-แมลงศัตรูกาแฟ (5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการตัดฟื้นต้นกาแฟในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เช่น การขาดความรู้ทางเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟ (6) ผลการทดสอบสมมุติฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร ลักษณะการปลูกกาแฟ อายุต้นกาแฟ จำนวนแรงงานในครัวเรือน รายได้จากกาแฟ ประสบการณ์การปลูกกาแฟ การเป็นสมาชิกกลุ่ม การได้รับการอบรม และการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการตัดฟื้นต้นกาแฟของเกษตรกร เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีการตัดฟื้นต้นกาแฟมากขึ้น จึงมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนด้านต่างๆ แก่เกษตรกร เช่น ความรู้และเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดฟื้นต้นกาแฟ การส่งเสริมการผลิตกาแฟคุณภาพเพื่อเพิ่มราคาจำหน่าย เช่น การผลิตกาแฟอินทรีย์ กาแฟมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร เป็นต้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1845
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142701.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons