กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1851
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Media development for the extension of reducing rice production cost in Nong Ya Sai District of Suphan Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิม นันทารียะวัฒน์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--ต้นทุน--ไทย--สุพรรณบุรี
ข้าว--การผลิต--ไทย--สุพรรณบุรี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความต้องการของเกษตรกรที่มีต่อชนิดของสื่อและเนื้อหาสาระของชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุน 3) การพัฒนาชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าว 4) ความพึงพอใจและข้อเสนอแนะที่มีต่อชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าว 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร กับ ความต้องการที่มีต่อชนิดสื่อ ความต้องการที่มีต่อเนื้อหาสาระ และความพึงพอใจที่มีต่อชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าว ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายและหญิงในสัดส่วนที่เท่ากัน มีอายุเฉลี่ย 50.55 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทานาเฉลี่ย 25.13 ปี ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 3,999 บาทต่อไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลการเกษตรจาก เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โทรทัศน์ การฝึกอบรม และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 2) เกษตรกรมีความต้องการสื่อ คู่มือ แผ่นพับ และวีดิทัศน์ และมีความต้องการเนื้อหาสาระในเรื่อง การลดการใช้เมล็ดพันธ์ การลดการใช้ปุ๋ยเคมี การลดการใช้สารเคมี การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการปฏิบัติ บัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน 3) การผลิตชุดสื่อมีขั้นตอน ดังนี้ (1) กำหนดชนิดของสื่อตามความต้องการของเกษตรกร (2) กาหนดเนื้อหาตามความต้องการของเกษตรกร (3) วางแผนการผลิตสื่อกำหนดรูปแบบและโครงร่างสื่อ (4) ดำเนินการผลิตสื่อตามแผนที่กำหนด (5) ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบต้นฉบับ (6) ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ (7) นำเสนอแก่เกษตรกรเป้าหมาย (8) ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด 4) จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจที่มีต่อชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวอยู่ในระดับมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะต่อชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวที่พัฒนาขึ้น ควรใช้ตัวอักษรควรมีขนาดใหญ่ คู่มือควรเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้เกี่ยวกับดินและปุ๋ย วีดิทัศน์ควรให้มีแบ่งการนำเสนอเป็นตอนสั้นๆ และการนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อความน่าสนใจ 5) จากการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับความต้องการต่อชนิดของสื่อ เนื้อหาสาระของชุดสื่อเพื่อการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1851
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142735.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons