Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1869
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในงานการพยาบาลผ่าตัดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: The development of a risk management model for perioperative nursing at Sappasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Privince
Authors: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, 2495- อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอื้อมพร ชมภูมี, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การบริหารความเสี่ยง
การพยาบาล
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยง ในงานการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานึ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกงานห้องผ่าตัด จำนวน 12 คน การวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในงานการพยาบาลผ่าตัด โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่ม 2) ระยะพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในงานการพยาบาลผ่าตัด โดยนำผลจากการศึกษาสถานการณ์ในระยะที่ 1 มากำหนดประเด็นในการพัฒนารูปแบบ เมื่อได้รูปแบบที่สมาชิกพึงพอใจแล้ว จงนำรูปแบบที่พัฒนานี้ไปทดลองใช้ในหน่วยงานนำร่อง และ 3) ระยะประเมินผลการปฎิบัติงานตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานการพยาบาลผ่าตัดหลังการดำเนินการตามรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนี้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในงานการพยาบาลผ่าตัดของพยาบาล วิชาชีพห้องผ่าตัด ได้แก่ (1) ความรู้ความเข้าใจ (2) ความตระหนักและทัศนคติต่อการปฎิบัติตามกระบวนการ บริหารความเสี่ยง (3) การสื่อสารในทีมผ่าตัด (4) บทบาทของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และ (5) การ ทบทวนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมในการควบคุมและป้องกันความเสี่ยงในความเสี่ยง 2) รูปแบบการ บริหารความเสี่ยงในงานการพยาบาลผ่าตัดของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด ประกอบด้วย (1) การทำงานแบบมี ส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (3) การกำหนดแนวทางการ สื่อสารทีมผ่าตัด (4) การให้ความรู้และกระตุ้นให้พยาบาลห้องผ่าตัดมีความรู้ มีทัศนคติ และความตระหนักใน เรื่องการบริหารความเสี่ยง และ (5) การทบทวนแนวปฎิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญในขณะให้การพยาบาล ผ่าตัด คือ การผ่าตัดผิดคน ผิคตำแหน่ง ผิดประเภทและการลืมสิ่งตกค้างในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด 3) การประเมินผล หลังการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยไม่มีอุบัติการณ์ความเสี่ยงเรื่องการผ่าตัดผิดคน ผิดตำแหน่ง ผิดประเภท และการลืมสิ่งตกค้างในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัดและพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน การพยาบาลผ่าตัดส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อรูปแบบ
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1869
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib114927.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons