Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1880
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเกษรินทร์ สังขวิจิตร, 2530-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-10-27T06:32:23Z-
dc.date.available2022-10-27T06:32:23Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1880-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร และ 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและวิทยฐานะของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จาก 22 โรงเรียน จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการตรวจสอบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ ประสบการณ์ 16-20 ปี ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) พฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับพฤติกรรมตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการองค์การ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการบุคลากรด้านการเป็นตัวแทนขององค์การ ด้านอำนวยการ ด้านการควบคุม และด้านนวัตกรรม ตามลำดับ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะเป็นผู้อำนวยการชำนาญการมีพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่ม สูงกว่าผู้บริหารที่มีวิทยฐานะเป็นผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี มีพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานสูงกว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 1-5 ปี และผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 16-20 ปีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการตัดสินใจของกลุ่มth_TH
dc.subjectโรงเรียน--การบริหาร--ไทย--ชุมพรth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleพฤติกรรมการตัดสินใจโดยกลุ่มในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11th_TH
dc.title.alternativeGroup decision making behaviors in administration of secondary school administrators as perceived by teachers in secondary schools, Chumphon Province, under the Secondary Education Service Area Office 11th_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the group decision making behaviors in administration of school administrators as perceived by teachers of secondary schools in Chumphon Province; and 2) to compare tile lewis of group decision making behaviors in administration of school administrators, perceived by teachers of secondary schools in Chumphon Province, as classified by work experience and academic rank of school administrators. The research sample consisted of 285 teachers from 22 secondary schools in Chumphon Province, obtained by simple random sampling. The sample size was determined based on the Krejcie and Morgan Sample Size Table. The employed research instrument was a 5-level Likert rating scale questionnaire with reliability coefficient of .96. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA. In case of the one-way ANOVA result showing tile significant difference at the .05 level, tile Scheffe s pair-wise comparison method was einployed to test the difference of each pair of data. The research results revealed that 1) both the overall and specific aspects of group decision making behaviors in administration of school administrators were rated at the high level; the specific aspects of group decision making behaviors could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: the organizational management aspect, the planning aspect, the personnel administration aspect the being organizational representative aspect, tile direction aspect, the control aspect, and the innovation aspect, respectively, and 2) school administrators with different academic ranks differed significantly in their overall group decision making behavior in administration, with administrators with the academic rank of expert director having higher level of overall group decision making behavior in administration than that of administrators with the academic rank of extra expert director at the .05 level of statistical significance; and school administrators with different work experiences differed significantly in their overall group decision making behavior in administration, with administrators with the work experience of more than 20 years having higher level of overall group decision making behavior in administration than those of administrators with the work experience of 1 - 5 wars and administrators with work experience of 16 - 20 years at the .05 level of statistical significanceen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons