กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1886
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลการพยากรณ์ของแบบจำลองความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparison of prediction results for financial failure models of companies listed on the Stock Exchange of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิทักษ์ ศรีสุขใส
อภิชาติ นามคง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พัชรี ผาสุข
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
ความล้มเหลวทางธุรกิจ
การเงิน--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
แบบจำลอง--พยากรณ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการพยากรณ์ของ แบบจาลอง Altman Z-Score, แบบจำลองโลจิท และแบบจำลองโพรบิทในการพยากรณ์ความ ล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อปัญหาความความล้มเหลวทางการเงินด้วยแบบจำลองโทบิท กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เข้าข่ายถูก เพิกถอนหรือถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 45 บริษัท และบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ดำเนินงานปกติจำนวน 45 บริษัท ในช่วงปี 2555 ถึง 2560 ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ยกเว้นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน ผลการศึกษาพบว่า (1) แบบจำลอง Altman Z Score มีความสามารถในการพยากรณ์อยู่ ระหว่างร้อยละ 59 ถึงร้อยละ 61 เมื่อเปรียบเทียบกับสถานะจริงของบริษัท แบบจำลองโลจิทและ แบบจำลองโพรบิทมีความสามารถในการพยากรณ์ใกล้เคียงกันอยู่ระหว่างร้อยละ74 ถึงร้อยละ 80 เมื่อเปรียบเทียบกับสถานะจริงของบริษัท แบบจำลองที่มีความสามารถในการพยากรณ์ความ ล้มเหลวทางการเงินถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุดคือแบบจำลองโลจิทรองลงมาคือแบบจำลองโพ รบิท โดยแบบจำลอง Altman Z- Score มีความสามารถในการพยากรณ์ถูกต้องน้อยที่สุด (2) อัตราส่วนทางการเงินที่สามารถบ่งชี้ปัญหาความล้มเหลวทางการเงินได้ดีที่สุดด้วยแบบจำลองโท บิทซึ่งตัวแปรตามคือค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดปัญหาความล้มเหลวทางการเงินโดยกำหนด ขีดจำกัดล่างเท่ากับ 0 คือ อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรสะสมต่อ สินทรัพย์รวม อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม โดยผลกระทบส่วนเพิ่มมีค่าเท่ากับร้อยละ 21, ร้อยละ 14 และร้อยละ 13 ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1886
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158655.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons