Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1903
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุวรรณา บุญยะลีพรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorประกายทิพย์ เหล่าประเสริฐ, 2503--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-31T02:19:15Z-
dc.date.available2022-10-31T02:19:15Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1903-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552th_TH
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานสู่ ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพการณ์ของระบบส่งต่อ ก่อนพัฒนาระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวาน และ ระยะที่ 3 การประเมินผลภายหลังนำระบบไปใช้โดยวัด ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ผู้ให้ข้อมูลหลัก/กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ให้ บริการ 12 ราย ผู้ป่วยเบาหวาน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิง คุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในแต่ละระยะมีดังนี้ ระยะที่ 1 พบว่าขาดการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอาการ และอาการแสดงของโรค และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งในขณะรักษาในโรงพยาบาล และในแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยไปยังศูนย์สุขภาพชุมชน ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการเยี่ยมบ้านอย่าง ต่อเนื่องหลังการจำหน่ายกลับบ้าน ระยะที่ 2 พัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานสู่ศูนย์สุขภาพ ชุมชน โดยการพัฒนาบุคลากรและประยุกต์แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดย ทีมสหสาขา วิชาชีพ รวมถึงประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานด้วยแบบสอบถาม การจัดทำทะเบียนการ ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการติดตามเยี่ยมและส่งกลับมายังศูนย์ดูแลต่อเนื่อง และ ระยะที่ 3 พบว่า หลังจากมี การประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยแต่ละราย การกำหนดแนวทางการส่งต่อระหว่างทีมสุขภาพ และการจัดบุคลากร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวในเรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ยา การออก กำลังกาย ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 70 มีระดับนั้าตาลในเลือดลดลง มีผู้ป่วย เบาหวาน จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 ของผู้ใช้บริการเท่านั้นที่ กลับมารักษซ้ำภายใน 28 วัน หลัง การจำหน่ายและผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในระบบการดูแลผู้ป่วยในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาล -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วยth_TH
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแลth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านไผ่th_TH
dc.title.alternativeA development of referral system from hospital to home for diabetes patients: a case study of Banphai Hospitalth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research and development was to develop a referral system for diabetes patients at the Banphai Hospital. Khon Kaen province. This study was divided into 3 phases. Phase I: A situation analysis: the current situation was analyzed before developing the referral system for diabetic patients. Data were collected by means of observation, in-depth interview, and focus group. Phase IP. A system development: the system was developed Phase Ill: A system evaluation: the system was evaluated after it was applied to find the service satisfaction of both receivers and providers. Ten diabetic patients and twelve providers were the key informants/subjects of this study. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics; whereas, qualitative data were analyzed by content analysis. Results were summarized as follows. Phase I: Essential data of patients such as signs and symptoms of disease, health practices in daily life were not recorded both while they were staying at the hospital and the referral form. Consequently, patients were not visited at their homes continuously after they were referred to community health centers. Phase II: the referral system was developed. Health personnel were trained. Guidelines for caring for diabetes patients developed by a multidisciplinary team were applied. Patients’ health practices were collected by using questionnaires. Referral data were registered; then patients were visited at their homes and followed up at the centers continuously. Phase III: After evaluated health practices of each patient, applied the referral guidelines between the health care team and the selection of health care providers to support patients’ health practices, each patient took care of themselves correctly in terms of nutrition, medication, and physical activity. For example, the level of blood sugar of these patients (70%) was decreased, and only one patient (10%) was readmitted after 28 days of discharge. Finally, health care providers were satisfied with the new system at the high levelen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib118781.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons