Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1906
Title: | การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการผลิตข้าว ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Geographic information system development for rice production in Rairod disstrict Suphan Buri Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา ปิยวัฒน์ ขนิษฐาบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา อัครสิชฌ์ มหาจิราศิริ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์--ไทย--สุพรรณบุรี ข้าว--การผลิต |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการผลิตข้าว ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลสารสนเทศการเกษตรที่สาคัญต่อการผลิตข้าวของจังหวัดสุพรรณบุรี และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบ GIS 2) พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้มีความจำเพาะต่อพื้นที่เพื่อการส่งเสริมการผลิตข้าว 3) ทดสอบการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรที่สาคัญต่อการผลิตข้าวของจังหวัดสุพรรณบุรีที่นามาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบ GIS ครั้งนี้ สามารถรวบรวมได้จำนวน 28 ชั้นข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มตามลักษณะข้อมูล ได้ 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลด้านกายภาพ 15 ชั้นข้อมูล ข้อมูลด้านการผลิตข้าว 8 ชั้นข้อมูล และข้อมูลแปลงเกษตรกรที่ทำการผลิตข้าว 5 ชั้นข้อมูล 2) การพัฒนาระบบ GIS เพื่อการส่งเสริมการผลิตข้าว สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญได้แก่ การนำเข้าข้อมูลตารางเชื่อมโยงกับข้อมูลภูมิศาสตร์ และการสร้างชั้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือของของโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3) ผลการทดสอบความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ GIS พบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สามารถใช้งานระบบ GIS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพึงพอใจต่อ ข้อมูล ระบบ/Project GIS ความมีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน โดยมีค่าความพึงพอใจในระดับมาก สำหรับการนำไปใช้ส่งเสริมการผลิตข้าวนั้น ระบบ GIS ข้าวที่พัฒนาขึ้นสามารถนามาใช้พัฒนาการผลิตข้าวของตำบลไร่รถ ในโครงการ “การบริหารจัดการข้าวอย่างยั่งยืน” อย่างไรก็ตาม ระบบ GIS จะมีประสิทธิผลมากเพียงใดนั้นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ส่วนคือ ข้อมูล และบุคลากรผู้ใช้งาน ซึ่งมีความสำคัญในการทาให้ข้อมูลในระบบมีความทันสมัย และเป็นปัจจุบัน จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานอย่างแท้จริง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1906 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
142855.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License