กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1928
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมและการผลิตพืชไร่และพืชผักฤดูแล้งของเกษตรกรในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs and production of dry-seasoned field crops and vegetables by farmers in the Area of Phetchaburi Irrigation and Maintenance Project at Tha Yang District of Phetchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตน์พิรุณ กรุณวงษ์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
พืชไร่--การผลิต
ผัก--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--เพชรบุรี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตพืชไร่ และพืชผักฤดูแล้ง 2) สภาพการผลิตพืชไร่ และพืชผักฤดูแล้งของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการเพาะปลูกพืชไร่ และพืชผักฤดูแล้งของเกษตรกร และ 4) ความต้องการการส่งเสริมในการผลิตพืชไร่และพืชผักฤดูแล้งของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้ผลิตพืชไร่ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.82 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.21 คน ประสบการณ์การผลิตเฉลี่ย 9.74 ปี ได้รับความรู้ด้านการผลิตจากเพื่อนบ้านมากที่สุด แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.12 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 9.73 ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 28,489.39 บาท ผลผลิตเฉลี่ย 3,592.84 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 88,488.74 บาท กาไรเฉลี่ย 59,999.35 บาท แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ได้จากการกู้ยืมสหกรณ์ และพ่อค้า นายทุนมากที่สุด ในส่วนของเกษตรกรผู้ผลิตพืชผัก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.40 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.28 คน ประสบการณ์การผลิตเฉลี่ย 10.86 ปี ได้รับความรู้ด้านการผลิตจากญาติพี่น้องมากที่สุด แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.40 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 6.23 ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,636.09 บาท ผลผลิตเฉลี่ย 589.21 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 8,378.24 บาท กำไรเฉลี่ย 3,068.48 บาท แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ได้จากการกู้ยืมญาติพี่น้องมากที่สุด เกษตรกรผู้ผลิตพืชไร่ และพืชผักส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 84.4 และร้อยละ 54.2 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. หรือธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 79.2 และร้อยละ 73.8 ไม่เคยเข้ารับ การอบรม พื้นที่การผลิตส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่า และมีเงินออมในครัวเรือน 2) เกษตรกรมีการปฏิบัติตามหลักวิชาการเกี่ยวกับการผลิตพืชไร่และพืชผักในระดับมากที่สุด 3) เกษตรกรผู้ผลิตพืชไร่ และพืชผัก มีปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชระบาด และปัญหาราคาพืชผลการเกษตรไม่แน่นอนมากที่สุด 4) เกษตรกรผู้ผลิตพืชไร่ และพืชผักส่วนใหญ่ มีความต้องการความรู้ในเรื่องของการป้องกันกาจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง และระดับมาก ตามลาดับ โดยวิธีการส่งเสริมและช่องทางการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด คือ การส่งเสริมแบบรายบุคคล ผ่านช่องทางการเยี่ยมแปลงของเจ้าหน้าที่ จากการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1928
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143294.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons