กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1947
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role performance of village agricultural volunteers in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจษฎา กาพย์ไชย, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--ไทย--เชียงใหม่.
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 2) ความรู้ในบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 3) การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผลการวิจัย พบว่า 1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.40 ปี จบชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.88 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.09 คน อาชีพทำสวนและทำนา รายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 83,969.30 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 83,234.74 บาทต่อปี รายจ่ายในภาคการเกษตรเฉลี่ย 35,233.48 บาทต่อปี มากกว่าครึ่งหนึ่งมีหนี้สินของครัวเรือน ส่วนใหญ่มีพื้นที่การเกษตรเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองเฉลี่ย 9.95 ไร่ ส่วนใหญ่ไม่เป็นผู้นาชุมชน แต่เป็นอาสาสมัครเกษตรอื่น โดยเฉลี่ย 2 ประเภท 2) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านจานวนสองในสามมีความรู้ในบทบาทหน้าที่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็น การประสานงานในการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร การขึ้นทะเบียนเกษตรกร และการประกาศเตือนภัยศัตรูพืช 3) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีการปฏิบัติมากที่สุดตามลาดับ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรเข้ารับการถ่ายทอดความรู้ การประชาสัมพันธ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร และการอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนาในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีการปฏิบัติงานในภาพรวมระดับมาก 4) ปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสม การสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการปฏิบัติงาน และการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดทาแปลงสาธิตการเกษตรในหมู่บ้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1947
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143711.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons