กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1952
ชื่อเรื่อง: การบริการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกับเกษตรกรในตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The services of Sub-district center for agricultural services and technology transfer at Khao Sam Sip Sub-district in Khao Chakan District of Sa Kaeo Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นภัสวรรณ สุพรรณ, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตำบล 3) การดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเขาสามสิบ 4) ความพึงพอใจต่อการดาเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเขาสามสิบ 5) การบริการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเขาสามสิบ 6) ความพึงพอใจต่อการบริการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเขาสามสิบ 7) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.53 ปี จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 23.53ไร่ มีรายได้จากการประกอบอาชีพเฉลี่ย 251,000 บาท/ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร อาสาสมัครเกษตร ผู้นำชุมชน ครู กศน. และเพื่อนบ้าน เกษตรกรมีระยะทางจากบ้านถึงที่ทำการศูนย์ฯ 3-5 กิโลเมตร ใช้บริการศูนย์ฯ 3.58 ครั้งต่อปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องศูนย์ฯในระดับมากที่สุด 3) ศูนย์ฯมีการดำเนินงานทุกด้านและทุกประเด็น 4) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการดาเนินงานศูนย์ฯ โดยภาพรวมในระดับมาก 5) ศบกต.เขาสามสิบ มีการบริการของศูนย์ฯทุกด้าน คือ การบริการ ณ ที่ทำการศูนย์ฯ การบริการจุดสาธิตและการบริการคลินิกเคลื่อนที่ทางการเกษตร 6) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการบริการในระดับมาก ในประเด็น มีเจ้าหน้าที่ให้บริการตามวัน เวลา ที่กำหนด 7) ปัญหาและข้อเสนอแนะโดยภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับมากในประเด็น ขาดการบริการการตรวจดินก่อนการปลูกพืช ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1952
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143715.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons