กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1971
ชื่อเรื่อง: การผลิตส้มโอของเกษตรกรในจังหวัดพิจิตรเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการส่งออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality pomelo production adhering to export standardization by farmers in Phichit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัลยา นาคเพ็ง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ส้มโอ--การผลิต--การส่งออก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตส้มโอของเกษตรกร 3) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก 5) วิธีการปฏิบัติในการผลิตส้มโอให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการส่งออก 6) เปรียบเทียบสภาพการผลิต ความรู้ ความคิดเห็น และการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตส้มโอ 7) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการผลิตส้มโอให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการส่งออกแก่เกษตรกรผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) เกษตรกรที่ได้รับใบรับรองแปลง (GAP) ส้มโอและเกษตรกรทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.61 และ 49.91 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้จากการทำสวนส้มโอเฉลี่ย 211,611.11 และ160,231.48 บาทต่อปี โดยรายได้จากภาคเกษตรรวม เฉลี่ย 360,031.40 และ 298,018.52 บาทต่อปี รายจ่ายในภาคการเกษตรทั้งหมดของครัวเรือนเฉลี่ย 169,942.59 และ 124,999.59 บาทต่อปี กำไรเฉลี่ย 7,766.28 และ 7,147.78 บาทต่อไร่ 2) สภาพการผลิตส้มโอของเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองแปลง (GAP) ส้มโอและเกษตรกรผู้ผลิตส้มโอทั่วไป พื้นที่ปลูก เฉลี่ย 15.50 และ12.02 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกส้มโอพันธุ์ท่าข่อย เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีสภาพการผลิตใกล้เคียงกันเกือบทุกด้าน 3) ความรู้ของเกษตรกรในภาพรวมของทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้มากในประเด็นการเลือกพื้นที่ปลูกและการปลูกส้มโอ การเก็บเกี่ยว แต่ยังมีความรู้น้อยในประเด็น การแบ่งชั้นคุณภาพและการกำหนดขนาดมาตรฐานการส่งออกของส้มโอ 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก คือการผลิตส้มโอให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการส่งออกจะทาให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีตลาดรับรองผลผลิตส้มโอที่แน่นอน 5) วิธีการปฏิบัติสำหรับเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองแปลง (GAP) ส้มโอ ส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็นประจำแต่มีบางประเด็นที่ส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติ ส่วนเกษตรกรผู้ผลิตส้มโอทั่วไปส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเป็นประจำน้อยทุกประเด็น และ 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะ เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีปัญหาในระดับมากในประเด็น ต้นทุนการผลิตสูง มีโรคและแมลงศัตรูพืชมากทำให้ยากต่อการจัดการ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการอบรมความรู้เรื่องการผลิตส้มโอให้ได้คุณภาพและมาตรฐานการส่งออกอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1971
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143743.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons