กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1974
ชื่อเรื่อง: การยอมรับพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 4 ของเกษตรกรที่ใช้พันธุ์ปลาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An adoption of Chitlada 4 Nile Tilapia by farmers received fish variety from Pathum Thani Aquaculture Genetics Research and Development Center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จริญญา สุวรรณนาคะ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปลานิล--พันธุ์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการเลี้ยงปลานิลจิตรลดา 4 (3) การยอมรับพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 4 และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลานิลและแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์มากกว่ากึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.87 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.13 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.31 คน เกษตรกรส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง พื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 42.61 ไร่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 680,209.68 บาทต่อปี และหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 375,190.48 บาท (2) สภาพการเลี้ยงปลานิลจิตรลดา 4 ของเกษตรกร พื้นที่ใช้เลี้ยงปลาส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นบางครั้ง การคมนาคมทางรถยนต์มีความสะดวก ใช้น้ำจากแม่น้ำและลาคลอง ปริมาณน้ำพอเพียงในการเลี้ยงปลา พันธุ์ปลานิลที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นปลาแปลงเพศ เกษตรกรมีจำนวนบ่อเลี้ยงปลาเฉลี่ย 3.32 บ่อ พื้นที่ผิวน้ำเฉลี่ย 19.6 ไร่ การให้อาหารสมทบทุกราย ปลาที่เลี้ยงไม่เป็นโรค ผลผลิตเฉลี่ย 756.45 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนผลิตในการเลี้ยงปลานิล เฉลี่ย 11,734.63 บาทต่อไร่ รายได้จากการเลี้ยงปลานิลเฉลี่ย 17,953.12 บาทต่อไร่ กำไรจากการเลี้ยงปลานิลเฉลี่ย 6,186.23 บาทต่อไร่ (3) เกษตรกรส่วนใหญ่ยอมรับพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 4 ของศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้าปทุมธานีในระดับมาก (4) ปัญหาของเกษตรกรในการเลี้ยงปลานิล ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่เกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ ปัญหาปลามีราคาต่ำ การถูกพ่อค้นคนกลางเอาเปรียบด้านราคา อาหารปลามีราคาแพง และปัญหาแหล่งพันธุ์คุณภาพหาซื้อยาก และห่างไกล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1974
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143925.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons