Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1978
Title: คุณภาพบริการที่ได้รับจริงและคุณภาพบริการที่คาดหวังของผู้รับบริการแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Actual and expected service quality among clients at the out-patient pharmacy department of one private hospital in Pathum Thani Province
Authors: พาณี สีตกะลิน
รุ่งนภา เมธมุทา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาล--บริการลูกค้า
เภสัชกรรมของโรงพยาบาล--บริการลูกค้า
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ระดับคุณภาพบริการที่ได้รับจริง 3) ระดับคุณภาพบริการที่คาดหวัง และ 4) เปรียบเทียบคุณภาพบริการที่ได้รับจริงและคุณภาพบริการที่คาดหวังตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ประชากรคือ ผู้มารับบริการแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี จานวน 500 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างมีระบบ จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพบริการที่ได้รับจริงและคุณภาพบริการที่คาดหวังมีค่าความเที่ยงที่ 0.82 และ 0.93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้รับบริการส่วนใหญ่ร้อยละ 54.8 เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 20-37 ปี ร้อยละ 62.2 ระดับการศึกษาร้อยละ 53.5 มีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 44.7 2) คุณภาพบริการที่ได้รับจริงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) คุณภาพบริการที่คาดหวังโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด และ 4) ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ โดยภาพรวมคุณภาพตามที่ได้รับและตามความคาดหวังไม่มีความแตกต่างกันส่วนระดับการศึกษา และอาชีพพบว่า ในภาพรวมคุณภาพบริการที่ได้รับจริงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เปรียบเทียบคุณภาพบริการ ที่ได้รับจริงและคุณภาพบริการที่คาดหวังพบว่า คุณภาพบริการด้านการให้บริการที่มีคุณภาพมีความแตกต่างกันมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความมั่นใจต่อบริการที่ได้รับและด้านบริการตอบสนองความต้องการ ตามลำดับ ส่วนด้านผู้ให้บริการให้การดูแลที่น่าเชื่อถือและความพร้อมในการให้บริการ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1978
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158770.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons