กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1991
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Technology utilization of maize production by farmers in Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพฑูรย์ ทองสนิท, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อาหารสัตว์--การผลิต
ข้าวโพด--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร (3) การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร (4) ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบชั้นประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 43.89 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.26 คน จำนวนแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.37 คน การประกอบอาชีพการทำไร่และทำนา (2) สภาพพื้นที่ปลูกข้าวโพดปลูกในพื้นที่ราบเชิงเขา ขนาดพื้นที่ปลูกข้าวโพด เฉลี่ย 21.95 ไร่ รายได้รวมภาคการเกษตรปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 170,000 บาท พันธุ์ข้าวโพดลูกผสมที่เกษตรกรนิยมปลูกส่วนใหญ่ คือ พันธุ์ CP888 NK48 NK58 และPacific328 เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ที่มีความทนแล้งได้นานเมื่อฝนทิ้งช่วง เจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ มีการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ ได้แก่ รถไถเล็กและเครื่องพ่นสารเคมี (3) เกษตรกรมีการตากดินหลังไถแปรด้วยผาลสาม ลึก 20 – 30 เซนติเมตร ปลูกโดยใช้เครื่องหยอดติดท้ายรถแทรกเตอร์ การพ่นสารคุมวัชพืชตามคำแนะนำ คลุมดินหลังหยอดเมล็ดก่อนที่ข้าวโพดและวัชพืชงอก มีการใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูกและครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า เมื่อข้าวโพดอายุ 20 - 25 วันการเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร (4) การผลิตข้าวโพดในปี 2556 พบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวโพดเฉลี่ย 3,432.89 บาทต่อไร่ ราคาขายผลผลิตเฉลี่ย 5.27 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 1,153 กิโลกรัมต่อไร่ ทาให้มีรายได้เฉลี่ย 5,722.28 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีกาไรสุทธิจากการผลิตข้าวโพดเฉลี่ย 2,295.51 บาทต่อไร่ และ (5) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่อง หน้าดินตื้น ไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์เองได้ สภาพดินแห้งหรือเปียกเกินไป ปุ๋ยมีราคาแพงใส่ไม่เพียงพอ ขาดแรงงานเก็บเกี่ยว และราคาผลผลิตตกต่ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1991
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143931.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons