กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2001
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดน้ำตาลจากของเกษตรกรในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Nipa Palm sugar production and Maketing by Farmers in Pak Phanang District of Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัฐพร แก้วตาทิพย์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
น้ำตาล--การผลิต
น้ำตาล--การตลาด.
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ในการปลูกและการผลิตน้าตาลจากของเกษตรกร(3) การผลิตน้ำตาลจากของเกษตรกร (4) การตลาดน้ำตาลจากของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 54.2 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.32 ปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.08 คน จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งเป็นผู้นาทางสังคม มีประสบการณ์ในการทำน้ำตาลจากเฉลี่ย 28.89 ปี ประกอบอาชีพการทำน้ำตาลจากเป็นอาชีพหลัก โดยปลูกจากตามบรรพบุรุษ มีพื้นที่ปลูกจากเป็นของตนเองเฉลี่ย 9.42 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.24 คน มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 109,166.79 บาทต่อปี รายจ่ายในการผลิตน้ำตาลจากเฉลี่ย 11,481.38 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ใช้ทุนส่วนตัวในการผลิตน้ำตาลจาก (2) เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตน้ำตาลจากในระดับมากที่สุด (3) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกจากในพื้นที่ลุ่มและเป็นดินเหนียว ในเขตพื้นที่น้ากร่อย ลักษณะเป็นป่าจากเดิม อายุเฉลี่ย 74.98 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีการใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่งเฉลี่ย 1.98 ครั้งต่อปี ไม่พบโรคของต้นจาก ระยะเวลาปลูกถึงการเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 6.53 ปี การผลิตน้ำตาลจากของเกษตรกรในรอบปี 2556 เฉลี่ย 4.14 เดือน พื้นที่เฉลี่ย 8.5 ไร่ (4) ผลผลิตโดยเฉลี่ย 20.09 กิโลกรัมต่อวัน ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ราคาเฉลี่ย 1,011.24 บาทต่อปี๊บ (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตและการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีข้อเสนอให้มีการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีการรวมกลุ่มกันขาย เพื่อต่อรองราคาของผลผลิต และต้องการให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้เกษตรกร ด้านการแปรรูปผลผลิตให้มีความหลากหลาย และแก้ไขปัญหาการรุกล้าของน้ำเค็ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2001
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144576.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons