Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2011
Title: ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อการดำเนินงานขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Opinions of agricultural extensionists toward the operations of Rice Farmers registration in Surin Province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาสินี จันทร์แดง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--สุรินทร์
ชาวนา--ไทย--สุรินทร์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (2) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการดำเนินงานขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุรินทร์ และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการดาเนินงานขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัย พบว่า (1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประมาณสองในสาม เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.27 ปี ประมาณสามในสี่ มีสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ มีประสบการณ์ในการดำเนินงานขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฉลี่ย 3.75 ปี จานวนตำบลที่รับผิดชอบเฉลี่ย 1.48 ตำบล จำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบเฉลี่ย 19.65 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบเฉลี่ย 1,803.23 ครัวเรือน มีรายได้ที่ได้รับจากทางราชการ 30,001- 40,000 บาท/เดือน และส่วนใหญ่ไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพอื่น (2) ความคิดเห็น เกี่ยวกับการดำเนินงานขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรภาพรวมพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยต่อการดำเนินงานขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในระดับมากทั้ง 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการออกใบรับรอง ขั้นตอนการประชาคม และขั้นตอนการรับขึ้นทะเบียน ซึ่งขั้นตอนการออกใบรับรองเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การกำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถจัดพิมพ์ใบรับรองได้เพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งแปลงปลูก ขั้นตอนการประชาคมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยต่าสุด คือการกำหนดให้มีการจัดทำประชาคมกลุ่มย่อยกลุ่มละ 5-10 คน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีจำนวนน้อยและมีเกษตรกรในความรับผิดชอบจำนวนมาก จึงทำให้ไม่สามารถทำได้ภายในเวลาที่กาหนดและทำให้การดำเนินการประชาคมล่าช้าไม่ทันกับความต้องการใบรับรองผลการขึ้นทะเบียนของเกษตรกร ที่จะใช้ในการเข้าร่วมโครงการตามนโยบายของรัฐบาล และขั้นตอนการรับขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำหนดให้เกษตรกรไม่มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียน หากเป็นพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในปี 2552/53 (3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีปัญหาจำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีปริมาณไม่เหมาะสมกับภารกิจหน้าที่ ระบบโปรแกรมการบันทึกข้อมูลการขึ้นทะเบียนฯไม่ดี และเกษตรกรไม่มาแจ้งยืนยันการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามที่กำหนด โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดสรรบุคลากรในพื้นที่ให้มีความเหมาะสม ควรพัฒนาระบบโปรแกรมการบันทึกข้อมูลการขึ้นทะเบียน และควรประชาสัมพันธ์ ระยะเวลาการดำเนินงานและสถานที่รับขึ้นทะเบียนให้ชัดเจนเป็นไปอย่างทั่วถึง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2011
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144590.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons