Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2016
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรทิพย์ กีระพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรอนงค์ สุขเสาร์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-11-04T02:17:51Z-
dc.date.available2022-11-04T02:17:51Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2016-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล)-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับผิดชอบงานด้านยาปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายในการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2) การดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายต่อการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ที่รับผิดชอบหลักด้านยาที่ปฏิบัติงานประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครปฐม แห่งละ 1 คนรวมทั้งหมดจำนวน 134 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในทุกหน่วยประชากรในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – กรกฎาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงในส่วนปัจจัยด้านโครงสร้างปัจจัยสนับสนุนจากแม่ข่ายและการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเท่ากับ 0.828, 0.813 และ 0.916 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้รับผิดชอบงานด้านยาอายุเฉลี่ย 41.78 ปี ส่วนมากมีตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระยะเวลาที่รับผิดชอบงานด้านยาอยู่ระหว่าง 1 - 5 ปี จำนวนเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมี 4 - 6 คนและเคยได้รับการอบรมความรู้ในเรื่องความคลาดเคลื่อนทางยาในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยด้านโครงสร้างและปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (2) การดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และ (3) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย สามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ร้อยละ 54.1th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectความคลาดเคลื่อนทางยาth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐมth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the performance of medication error prevention of sub-district health promoting hospitals in Nakhon Pathom Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis descriptive study aimed: (1) to determine personal factors of pharmacy-related personnel, structural factors, and supportive factors from health-care network nodes or hospitals for preventing medication errors at sub-district health promoting hospitals; (2) to study the performance of medication error prevention; and (3) to explore the influence of personal factors, structural factors, and node-support factors on the prevention of medication errors at sub-district health promoting hospitals in Nakhon Pathom province. The study participants were all 134 pharmacy-related health personnel, 1 each of 134 sub-district health promoting hospitals in the province. Data collection was conducted in June and July 2019, using a questionnaire with the reliability values of 0.828, 0.813, and 0.916 for structural factors, supportive factors, and medication error prevention, respectively. Statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The results showed that: (1) for all participants, the average age was 41.78 years; most of them were professional nurses, had 1–5 years of pharmaceutical work experiences, worked at a sub-district health promoting hospital with 4–6 health workers, and had attended medication error training within the past year; and overall, structural and node-support factors were at the high levels; (2) the performance of medication error prevention was at the high level; and (3) structural and node-support factors could 54.1% predict the performance of medication error prevention at the sub-district hospitalsen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
163626.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons