กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2016
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the performance of medication error prevention of sub-district health promoting hospitals in Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ กีระพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรอนงค์ สุขเสาร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์
ยา
ความคลาดเคลื่อนทางยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับผิดชอบงานด้านยาปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายในการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2) การดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายต่อการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ที่รับผิดชอบหลักด้านยาที่ปฏิบัติงานประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครปฐม แห่งละ 1 คนรวมทั้งหมดจำนวน 134 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในทุกหน่วยประชากรในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – กรกฎาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงในส่วนปัจจัยด้านโครงสร้างปัจจัยสนับสนุนจากแม่ข่ายและการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเท่ากับ 0.828, 0.813 และ 0.916 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้รับผิดชอบงานด้านยาอายุเฉลี่ย 41.78 ปี ส่วนมากมีตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระยะเวลาที่รับผิดชอบงานด้านยาอยู่ระหว่าง 1 - 5 ปี จำนวนเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมี 4 - 6 คนและเคยได้รับการอบรมความรู้ในเรื่องความคลาดเคลื่อนทางยาในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยด้านโครงสร้างและปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (2) การดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และ (3) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย สามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ร้อยละ 54.1
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล)-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2016
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163626.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons