กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2023
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการผลิตข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมในเขตที่ราบเชิงเขา จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rice production potentials adhering to good agricultural practice of the menbers of Community Rice Centers in the Foothill Plain Areas of Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ,อาจารย์ที่ปรึกษา
ปานทิพย์ วงษ์แก้ว, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การผลิต--ไทย--พิษณุโลก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ 1) ลักษณะส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน 3) เจตคติเกี่ยวกับระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน 4) การปฏิบัติตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการผลิตตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมแก่สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนทั้งสองกลุ่ม คือ ผู้ผลิตข้าวตามเกษตรดีที่เหมาะสมและผลิตข้าวทั่วไป มีอายุเฉลี่ย 50.38 และ 50.93 ปี สองในสามจบการศึกษาระดับประถมศึกษา พื้นที่ทำนาเฉลี่ย 11.23 และ 12.63 ไร่ แรงงานที่ใช้ทำนาเฉลี่ย 26.27 และ 12.95 คน รายได้รวมทั้งปีเฉลี่ย 159,815.83 และ 173,924.67 บาท 2) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตข้าวตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ส่วนใหญ่มีความรู้ ซึ่งแตกต่างกับสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตข้าวแบบทั่วไป ที่ส่วนใหญ่ขาดความรู้ในเรื่องการเลือกใช้สารเคมีและความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล 3) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนทั้ง 2 กลุ่มมีเจตคติที่เห็นด้วยมากต่อการทำระบบเกษตรดีที่เหมาะสม 4) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตข้าวตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเป็นประจำตามคาแนะนำ ซึ่งแตกต่างกับสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตข้าวแบบทั่วไปที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจาตามคำแนะนำ และ 5) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตข้าวตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม มีปัญหาในเรื่อง ขาดลานตากข้าว ส่วนสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตข้าวแบบทั่วไป มีปัญหาในระดับมาก คือ ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล ดังนั้น การดาเนินงานตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางเศรษฐกิจ ความรู้ การปฏิบัติ เจตคติ และปัญหาของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน นำมาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2023
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144731.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons