Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2027
Title: การใช้เทคโนโลยีในระบบการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
Other Titles: Technology utilization in organic indigenous crop production system by farmers in Banna District of Nakhon Nayok Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรเมศวร์ วีระโสภณ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผักพื้นบ้าน--การผลิต--ไทย--นครนายก.
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การใช้เทคโนโลยีในระบบการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ (ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ และ (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ของเกษตรกร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) เกษตรกรผู้ผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่มีตาแหน่งทางสังคม มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.25 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกร มีพื้นที่ปลูกผักพื้นบ้านอินทรีย์เฉลี่ยครอบครัวละ 2.03 ไร่ เป็นของตนเอง อาชีพหลักทำการเกษตร รายได้รวมเฉลี่ย 114,559.18 บาทต่อปี โดยเป็นรายได้จากการขายผักพื้นบ้านอินทรีย์ เฉลี่ย 29,793.19 บาทต่อปี เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่ง มีภาวะหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีการรับรู้ข่าวสารทางการเกษตรจากเพื่อนบ้านหรือเครือญาติ ผักพื้นบ้านที่ผลิต คือ ชะอม มะกอก กะเพรา ชะมวง และผักกูด ตามลำดับ โดยปลูกแซมกับพืชอื่น มีช่วงฤดูการเพาะปลูกตลอดทั้งปี ต้นทุนเฉลี่ย 3,770.61 บาทต่อไร่ มีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตในพื้นที่ (2) เกษตรกร 2 ใน 3 มีความรู้ในเทคโนโลยีการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ระดับปานกลาง และเกษตรกรมีการปฏิบัติตามการใช้เทคโนโลยีในระบบการผลิต (3) ปัญหาในการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ระดับรุนแรงมาก ได้แก่ ด้านการตลาด ภัยธรรมชาติ ด้านผู้ให้คำปรึกษา และปัจจัยการผลิต ข้อเสนอแนะต้องการให้รัฐแก้ปัญหาด้านการตลาด และภัยธรรมชาติ (4) ความต้องการส่งเสริมเนื้อหาความรู้เรื่องการตลาด การผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ ต้องการสื่อบุคคลจากทางราชการ สนับสนุนสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปคู่มือ มีการฝึกปฏิบัติ และจัดทำแปลงสาธิตตามเทคโนโลยีการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2027
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144818.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons