กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2035
ชื่อเรื่อง: การผลิตกล้วยหินและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนากล้วยหินเชิงคุณภาพในจังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Saba production and extension needs of farmers participating in the project of Saba extension and Quality Improvement in Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไมตรี สุขเกษม, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
กล้วยหิน--การผลิต--ไทย--ยะลา
การส่งเสริมการเกษตร--แง่เศรษฐกิจ--ไทย
กล้วยหิน--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตกล้วยหินของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกล้วยหินของเกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนากล้วยหินเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.65 ปี นับถือศาสนาอิสลาม สถานภาพสมรสแล้ว จบการศึกษาระดับประถมต้น มีประสบการณ์ในการปลูกกล้วยหินเฉลี่ย 5.15 ปี ผ่านการอบรมความรู้มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง และส่วนใหญ่มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนบ้าน สื่อในการรับข้อมูลข่าวสารในครัวเรือน ได้แก่โทรทัศน์ วิทยุและเอกสารวิชาการ สื่อในชุมชมได้แก่หอกระจายข่าว ที่อ่านหนังสือและป้ายประชาสัมพันธ์ แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับกล้วยหินได้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อนบ้าน สื่อวิทยุ โทรทัศน์ แปลงเรียนรู้ และแผ่นพับตามลำดับ เกษตรกรส่วนมากไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม และไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.51 คน เป็นแรงงานเฉลี่ย 1.81 คน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 21.59 ไร่ และมีพื้นที่ปลูกกล้วยหินเฉลี่ย 4.01 ไร่ อาชีพหลักทำสวนยางพารา อาชีพรองทำสวนผลไม้ มีรายได้เฉลี่ย 167,814.10 บาท เกษตรกรส่วนมากเป็นหนี้ธนาคารเพี่อการเกษตรและสหกรณ์และญาติพี่น้อง 2) สภาพการผลิต เกษตรกรส่วนมากปลูกกล้วยหินเป็นพืชแซม มีการเตรียมแปลงปลูกโดยการกำจัดวัชพืช และตากดิน ระยะปลูกมีหลายระยะ ขุดหลุมกว้าง 30x30 เซนติเมตรใส่ปุ๋ยคอกและหมัก หน่อพันธุ์ที่ใช้ปลูกมีหลายขนาด มักปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมและกำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้า เกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี ในอัตราที่พอเหมาะ ส่วนใหญ่มีการตัดแต่งหน่อและตัดทางใบถูกต้อง มีการตัดปลีหลังจากออกหวีสุดท้ายแต่ไม่นิยมคลุมถุง ปัญหาโรคแมลงส่วนมากไม่มี ศัตรูพืชที่พบมากคือหนอนม้วนใบ และโรคตายพราย ป้องกันกำจัดโดยวิธีกล เก็บเกี่ยวโดยโค่นให้ส่วนเครือโน้มลงมา แล้วตัดเครือนำมาชำแหละเป็นหวี และขายส่งให้แก่พ่อค้าที่บ้าน 3) เกษตรกรต้องการความรู้ในเรื่องการ ใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเตรียมหลุม ระยะปลูก การกำจัดวัชพืช ตามลาดับ ช่องทาง(สื่อ)ในการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการมากคือ คู่มือ และเจ้าหน้าที่ โทรทัศน์ เพื่อนบ้าน แผ่นพับ โปสเตอร์ พ่อค้า วิทยุและโทรศัพท์ ตามลำดับ ส่วนวิธีการส่งเสริม เกษตรกรต้องการมาก ได้แก่ การบรรยาย สาธิต และดูงาน ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2035
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144901.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons