กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2040
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการทำนานอกฤดูของเกษตรกรนอกเขตชลประทานในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potentials of off-season rice production by Non-Irrigated Area farmers in Sangkha District of Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วสันต์ ต่างทอง, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การทำนาปรัง
ข้าว--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) เจตคติการทำนานอกฤดูของเกษตรกร (3) ความพร้อมในการทำนานอกฤดูของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการทำนานอกฤดู ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.66 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา แรงงานเกษตรเฉลี่ย 2.66 คน มีประสบการณ์ทำนานอกฤดู 1-5 ปี พื้นที่ในการทำนานอกฤดูเฉลี่ย 5.48ไร่ ใช้ทุนของตนเอง โดยส่วนใหญ่เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรมีรายได้การทำนานอกฤดูเฉลี่ย 12,387.87 บาท น้าที่ใช้มาจากอ่างเก็บน้ำในชุมชน นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตร (2) เกษตรมีเจตคติในการทำนานอกฤดูอยู่ในระดับมาก (3) ด้านความพร้อมของเกษตรกรในการทำนานอกฤดูก็อยู่ในระดับมาก (4) ภาพรวมของปัญหาในการทำนานอกฤดูอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่อยู่ในระดับต้น ๆ ก็คือการกำจัดศัตรูพืช สาหรับข้อเสนอแนะของเกษตรกร ส่วนใหญ่ต้องการฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมความรู้ สนับสนุนปัจจัยการผลิต แหล่งทุน แหล่งน้ำ ไฟฟ้า และการรวมกลุ่มเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2040
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144905.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons