Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2046
Title: สภาพการผลิตข้าว กข 6 และการยอมรับเมล็ดพันธุ์จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานีของเกษตรกรในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: An adoption and using RD6 Rice seeds from Udon Thani Rice seed center by famers in Kumphawaphi District of Udon Thani Province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สกฤพงศ์ ปักสังคะเณย์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การปลูก
ข้าว--พันธุ์กข
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวพันธุ์ กข 6 ตามโครงการกระจายพันธุ์ข้าว กข6 3) การยอมรับเมล็ดพันธุ์ข้าว กข 6 และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตข้าว กข 6 โดยใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมากกว่าสองในสามเล็กน้อย เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.24 ปี สาเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาภาคบังคับ โดยสามในสี่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีประสบการณ์ในการผลิตข้าวพันธุ์ กข 6 เฉลี่ย 13.59 ปี เหตุที่ผลิตข้าวพันธุ์ กข 6 เพราะบริโภคข้าวเหนียว และแหล่งความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว กข 6 จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐ มีจานวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 5 คน สมาชิกที่ช่วยทำนาเต็มเวลาเฉลี่ย 3 คน มีอาชีพหลักคือการทำนา มีพื้นที่ใช้ทำนาเฉลี่ย 24.0ไร่ ใช้ปลูกข้าวพันธุ์ กข 6 เฉลี่ย 11.5 ไร่ ใช้เงินทุนของตนเองและแหล่งอื่น มีค่าใช้จ่ายในปีการเพาะปลูก เฉลี่ย 3,827.06 บาท 2) การเตรียมเมล็ดพันธุ์โดยการแช่น้า 12-24 ชั่วโมง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ในนาดำ 11กก./ไร่ กาจัดวัชพืชโดยการถอนหญ้าด้วยคน เฉลี่ย 2.49 ครั้ง มีการใส่ปุ๋ยเคมี ผลผลิตที่ผลิตได้ในปีเพาะปลูก 2553 เฉลี่ย 3,038.14 กก. เก็บไว้บริโภคเฉลี่ย 1,693.96 กก. เก็บไว้ทำพันธุ์เฉลี่ย 176.04 กก. และจำหน่ายให้พ่อค้ารับซื้อในท้องถิ่นเฉลี่ย 1,267.29 กก. โดยขายได้ราคาเฉลี่ย 14.44 บาท 3) เกษตรกรทุกคนยอมรับการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว กข 6 จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานี ในระดับมาก 4) เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องของราคาเมล็ดพันธุ์ที่ต้องซื้อในราคาสูงกว่าท้องตลาด จึงเสนอแนะให้หาตลาดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาต่ำ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2046
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130816.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons