Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2051
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนิภาพร อรุณวรากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorประไพ บรรณทอง, 2504--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-11-07T06:13:17Z-
dc.date.available2022-11-07T06:13:17Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2051-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก (Acute ST elevation Myocardial Infarction: STEMI) หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 22 คน การวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก บุคลากร และผู้ป่วยรวม 12 คน ประกอบด้วย อายุรแพทย์ 1 คน แพทย์เพิ่มพูนทักษะ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 8 คน พนักงานเปล 1 คน ผู้ป่วย 1 คน และการสนทนากลุ่ม พยาบาลวิชาชีพ 22 คน และพนักงานกู้ชีพ 5 คน (2) ระยะพัฒนาโปรแกรมและนำสู่การปฏิบัติโดยการสนทนากลุ่ม 3 ครั้ง และ นำไปทดลองใช้ จนได้รูปแบบที่สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 22 คน และพนักงานกู้ชีพ 5 คน เห็นพ้องกัน (3) ระยะประเมินผลโปรแกรม โดยประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ และบุคลากรทีมดูแลผู้ป่วย เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้โปรแกรม ได้แก่ อัตราของผู้ป่วยที่แพทย์ผู้ดูแลได้รับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที อัตราของผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ้มเลือดภายใน 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ z-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในระยะที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วย STEMI ได้แก่ ผู้ปฏิบัติมีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น การมอบหมายผู้ดูแลในแต่ละขั้นตอนไม่ชัดเจน และขาดการนำข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ ของผู้ป่วยมาวิเคราะห์เพื่อ พัฒนางาน ระยะที่ 2 โปรแกรมการดูแลผู้ป่วย STEMI ประกอบด้วย การจัดอบรมเชิงปฏิบติการแก่ทีมผู้ดูแล การใช้โปสเตอร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแก่บุคลากรและผู้รับบริการ การคัดกรองผู้ป่วย STEM ด้วยแบบคัดกรองที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น การจัดสรรเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เหมาะสม และการสร้างแนวปฏิบัติสำหรับผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน โดยบันทึกการทำงานทุกขั้นตอนในแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการสื่อสารระหว่างทีมผู้ดูแลที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 การประเมินผลหลักการใช้โปรแกรม 6 เดือน พยาบาลวิชาชีพและทีมผู้ดูแลมีความพึงพอใจในการใช้โปรแกรม โดยให้ข้อมูลว่า โปรแกรมช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบุคลากรเกิดกวามตระหนักในการคัดกรอง และดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า อัตราผู้ป่วย STEMIM แพทย์ผู้ดูแลได้รับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที และ อัตราผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ้มเลึอดภายใน 30 นาที เมื่อมาถึงโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 66 เป็นร้อยละ 97.37 (p=.000) และจากร้อยละ 13.63 เป็นร้อยละ 33.33 (p=.001) ตามลำดับ พยาบาล และบุคลากรในทีมการดูแลมีความพึงพอใจต่อโปรแกรม โดยระบุว่าทำให้มีความรู้ และการปฏิบัติงานได้ดีขั้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.238en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรth_TH
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแลth_TH
dc.subjectกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน -- การดูแลth_TH
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสทียก หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of a patient care program for acute ST elevation myocardial infarction patients at the Accidental and Emergency Department in Jainad Narendra Hospitalth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2011.238en_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this participatory action research was to develop a patient care program for ST elevation myocardial infarction (STEMI) patients at the Accidental and Emergency Department at JainadNarendra Hospital The sample was professional nurseswho worked at the Accidental and Emergency Departmentin JainadNarendra Hospital, This study was divided into three phase. First, situation analysis: a situationof the patient care program for STEMI was explored by using an in-depth interview with 12 person: a medical physician, a general physician, 8 professional nurses, a transporter, and a patient.Focus group discussion was done with 22 professional nurses and 5 emergency medical service personnel. Second, program development: the preliminary program was developed by using three focus group discussion. After receiving the consensus from the professional nurses and 5 emergency medical sendee personnel, the program was implemented at the Accidental and Emergency Department. Third, evaluation: professional nurses and patient care team rated their satisfaction on the program. Before and after program implementation, clinical outcome of the patients such as the ratio of the patients on whom their physicians conducted EKG within 10 minutes, and received a fibrinolytic drug within 30 minutes were recorded. Data were analyzed by descriptive statistics, Z-test and content analysis. The findings were the following. Phase I: theproblems before development the patient care program for STEMI patients were as follows. Practitioners had insufficient both knowledge and awareness in caring for this group of patients. There was inadequate medical equipment. No one was explicitly assigned in each step, No one collected and analyzed the patient outcome in order toimprovement their works.Phase IlAhe patient care program for STEMI patients included the followings. Provide a workshop for care team.Present posters and providedknowledge and awareness of STEMI for both personnel and clients. Screen STEM patents. Provide appropriate medical equipment. Establish practice guidelinesof each step and record their practice on patient forms, so this team could communicate. Phase IIP. after program implemented for 6 month, professional nurses and the care team rated their satisfaction on the program. They considered that this program helped them to work efficiently. Personnel were aware of the need for screening and caring for their patients. The ratio of the patientswith whom their physician conduct EKG within 10 minutes and those who received fibrinolytic drug within 30 minutes significantly increased from 66% to 97.37% (p=.000) and 13.63 % to 33.33 % ( p=.001) respectivelyen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib130261.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons