กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2058
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตกล้วยไม้รองเท้านารีเชิงการค้า : กรณีศึกษาศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Feasibility study on the investment of lady slipper orchid (Paphiopedilum spp.) commercial production : case study of Trang Agricultural Occupation Promotion and Development Center (Tissue Culture)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพรัตน์ ถวิลเวทิน, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
รองเท้านารี--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตกล้วยไม้รองเท้านารีเชิงการค้าของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ทั้งด้านตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน โดยในการผลิตจะใช้สูตรอาหารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยและ จดสิทธิบัตรแล้ว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นไปได้ด้านตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของศูนย์ฯ คือ ผู้จำหน่าย กล้วยไม้รองเท้านารี สมาชิกชมรมกล้วยไม้รองเท้านารีแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป และกลุ่มชุมชนที่ต้องการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีเพื่อเป็นสินค้าประจำจังหวัด ประมาณการความต้องการของตลาดกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์แท้ชนิดที่พบในภาคใต้อย่างน้อย 28,350 ต้น/เดือน ความต้องการซื้อจากศูนย์ฯ ประมาณ 14,736 ต้น/เดือน 2) ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ศูนย์ฯ มีความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการ เครื่องมืออุปกรณ์ โรงเรือน ต้นแม่พันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต และบุคลากร 3) ความเป็นไปได้ด้านการจัดการ ศูนย์ฯเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจหลักคือผลิตปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพแก่เกษตรกร มีกาลังผลิตต้นกล้ากล้วยไม้รองเท้านารีได้เพียง 5,900 ต้น/เดือนซึ่งต่ำกว่าความต้องการซื้อของกลุ่มลูกค้า 4) ความเป็นไปได้ด้านการเงิน มีระยะเวลาคืนทุน 4 ปี 9 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 17,677,029 บาท ดัชนีกาไร 4.03 เท่า และอัตราผลตอบแทนของโครงการร้อยละ 30.64 แสดงว่าโครงการมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการภายใต้สถานการณ์ยอดขายลดลงร้อยละ 25 และร้อยละ 50 พบว่า โครงการยังคงได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2058
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133810.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons