กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2059
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ศูนย์มะเร็งลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a computerized nursing documentation system for Cancer Patients at Lopburi Cancer Center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยะนันต์ อิสสระวิทย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณิภา แสงกิตติไพบูลย์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ศูนย์มะเร็งลพบุรี
มะเร็ง -- ผู้ป่วย
การพยาบาล -- การประมวลผลข้อมูล
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัตเนาระบบบันทึกทาง การพยาบาล ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี (2) เพื่อศึกษาผลของการใช้ระบบ บันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในด้านคุณภาพของการบันทึกทาง การพยาบาล และประโยชน์ของระบบบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงานในหอผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 14 คน ได้จากการเลึอกตัวอย่างแบบเจาะจง และ (2) แบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วย จำนวน 102 ชุด แบ่งเป็น แบบบันทึกด้วยระบบเดิม 51 ชุด ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ และแบบบันทึก ด้วยระบบใหม่ 51 ชุด ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือทที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ระบบ บันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง (2) โครงการอบรมพยาบาลวิชาชีพและ แบบทดสอบความรู้เรื่องการบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์ และ (3) เครื่องมือที่ใชัเก็บรวบรวม ข้อมูลมี 2 ชุด ได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล และแบบสอบถามประโยชน์ ของระบบการบันทึกทางการพยาบาล เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการหาความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง ได้ ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.93 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney U test และ สถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในกลุ่มตัวอย่างสอง กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับ (paired t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ระบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ป่วย มะเร็ง ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี ประกอบด้วย วิธีการบันทึก แบบบันทึก และคู่มือการใช้ระบบบันทึกทางการ พยาบาล ตามกระบวนการพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้สามารถบันทึกได้ง่าย สะดวก ครอบคลุม ความต้องการของผู้ป่ายแบบองค์รวมและต่อเนื่อง (2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพของการบันทึกทางการ พยาบาลและประโยชน์ของระบบบันทึกโดยรวมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาระบบบันทึกทางการ พยาบาล ด้วยคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2059
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib130693.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons