กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2068
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข | th_TH |
dc.contributor.author | พัชรานีย์ วิชัยวงศ์, 2512- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-11-08T04:10:41Z | - |
dc.date.available | 2022-11-08T04:10:41Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2068 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น บรรยากาศองค์การ และความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น บรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ (3) ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ อายุงามตั้งแต่ 1 ปื ขึ้นไป ในโรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น 3) บรรยากาศองค์การ และ 4) ความพึงพอใจในงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามส่วนที่ 2-4 เท่ากับ .99 .95 และ .95 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .97 .97 และ.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น บรรยากาศองค์การของโรงพยาบาลเอกชน และความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับสูง (2) พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง และบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ (3) บรรยากาศองค์การด้านความรับผิดชอบ ด้านความเสี่ยง ด้านการสนับสนุน และด้านเอกลักษณ์ขององค์การและความจงรักภักดีสามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 55 (R2 = .550) ดังนั้นจึงควรพัฒนาบรรยากาศองค์การโดยเฉพาะด้านเอกลักษณ์ขององค์การและความจงรักภักดี ด้านการสนับสนุน ด้านความเลี่ยง และด้านความรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในงานและเป็นผลในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.268 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลเอกชน--ไทย--กรุงเทพฯ | th_TH |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ--ความพอใจในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | ผู้บริหาร--การบริหาร | th_TH |
dc.subject | ผู้นำ--พฤติกรรม | th_TH |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น บรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | Relationships between transformational leadership behaviors of first level nursing managers, organizational climates and professional nurses' job satisfaction at private hospitals in Bangkok metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2012.268 | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this descriptive research were: 1) to study transformational leadership behaviors of first level nursing managers, organizational climates and job satisfaction of professional nurses. 2) to explore the relationships between transformational leadership behaviors of first level nursing managers, organizational climates and professional nurses' job satisfaction, and 3) to analyze factors influencing professional nurses' job satisfaction at private hospitals in Bangkok Metropolis. The sample included 360 professional nurses who had experienced in private hospitals for at least one year. They were selected by the multi - stages random sampling technique. Questionnaires were used as research tools and comprised 4 sections: 1) personal factors 2) transformational leadership behaviors of first level nursing manager 3) organizational climates and 4) professional nurses' job satisfaction. These questionnaires were tested for validity by five experts. The content validity of the second to the fourth sections were .99 .95 and .95 respectively. The Cronbach’s alpha coefficients of the second to the fourth sections were the same, namely .97. Data were analyzed by descriptive statistics (percentage, mean, and standard deviation) Pearson product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The results of this study were as follows: 1) Transformational leadership behaviors of first level nursing managers, organizational climates and professional nurses rated their job satisfaction at the high level. 2) Transformational leadership behaviors of first level nursing managers and organizational climates were positively significantly related with nurses job satisfaction. 3) Factors of organizational climates such as responsibility, risk, support and organizational identity and loyalty could predict professional nurses' job satisfaction. These predictors accounted for 55%. (R2 =.550) Therefore, organizational climates especially responsibility, risk, support and organizational identity and loyalty should be developed to increase professional nurses' job satisfaction and to achieve goals of organizations. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | ธนพร แย้มสุดา | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib130834.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License